fbpx
WeLoveMed.com

การกำกับดูแลกิจการ การนำ และทิศทางองค์กร (GLD)

JCI

การกำกับดูแลกิจการ การนำ และทิศทางองค์กร Governance, Leadership, and Direction (GLD)

ประกอบด้วย

GLD.1 – GLD.1.2 | ผู้กำกับดูแลกิจการขององค์กร Governance of the Hospital
GLD.2 | ความรับผิดชอบของผู้บริหาร Chief Executive(s) Accountabilities
GLD.3 – GLD.3.3 | ความรับผิดชอบของผู้นำองค์กร Hospital Leadership Accountabilities
GLD.4 – GLD.5 | การบริหารองค์กรสำหรับคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วย Hospital Leadership for Quality and Patient Safety
GLD.6 – GLD.6.2 | การบริหารองค์กรสำหรับสัญญาจ้าง Hospital Leadership for Contracts
GLD.7 – GLD.7.1 | การบริหารองค์กรสำหรับการจัดทรัพยากร Hospital Leadership for Resource Decisions
GLD.8 | การจัดการและความรับผิดชอบของบุคลากรทางคลินิก Clinical Staff Organization and Accountabilities
GLD.9 – GLD.11.2 | ทิศทางของแผนกและหน่วยบริการในองค์กร Direction of Hospital Departments and Services
GLD.12 – GLD.13.1 | จริยธรรมองค์กรและคลินิก Organizational and Clinical Ethics
GLD.14 | การศึกษาและการวิจัยในสาขาวิชาชีพด้านสุขภาพและมนุษย์ Health Professional Education and Human Subjects Research
GLD.15 – GLD.19 | การวิจัยในสาขาวิชาเกี่ยวกับมนุษย์ Human Subjects Research

ภาพรวม

หมายเหตุ: ในมาตรฐาน GLD คำว่า “ผู้นำ” ใช้เพื่อแสดงว่ามีบุคคลหนึ่งหรือมากกว่าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับความคาดหวังในมาตรฐาน | ผู้นำแสดงให้เห็นว่ากลุ่มของผู้นำจะรวมความรับผิดชอบต่อความคาดหวังที่พบในมาตรฐาน

มาตรฐานในบทนี้จะถูกจัดกลุ่มโดยใช้ลำดับของความเป็นผู้นำดังต่อไปนี้ (และแสดงให้เห็นในรูปด้านล่าง):

ระดับที่ 1: ผู้กำกับดูแลกิจการ
ผู้กำกับดูแลอาจประกอบด้วยหลายหลายรูปแบบ | ตัวอย่างเช่น ผู้กำกับดูแลอาจเป็นกลุ่มบุคคล (เช่น คณะกรรมการชุมชน) เจ้าของหนึ่งคนหรือมากกว่า หรือ กระทรวงสาธารณสุขในกรณีที่เป็นโรงพยาบาลของรัฐ

บุคคล นิติบุคคล หรือกลุ่มผู้รับผิดชอบในมาตรฐานสำหรับความต้องการที่พบใน GLD.1.1 ถือว่าเป็นผู้กำกับดูแลขององค์กร

ระดับที่ 2: ผู้บริหาร
ปกติผู้บริหารองค์กรอาวุโสที่สุด เรียกว่า ผู้บริหารระดับสูง (chief executive) โดยเป็นคนๆ เดียวหรือหลายคนที่ได้รับเลือกให้กำกับดูแลองค์กรในแต่ละวัน | ตำแหน่งนี้โดยส่วนใหญ่เป็นแพทย์ นักบริหาร หรือทั้งสองทำงานร่วมกัน | ในศูนย์วิชาการแพทย์ คณบดีของโรงเรียนแพทย์อาจจะเป็นระดับผู้บริหารในองค์กร

ระดับที่ 3: ผู้นำองค์กร
มาตรฐานกำหนดให้ผู้นำองค์กรมีความรับผิดชอบที่หลากหลาย เพื่อรวมให้เป็นแนวทางขององค์กรไปสู่เป้าหมาย | ส่วนใหญ่ผู้นำองค์กรประกอบด้วย ผู้บริหารด้านการแพทย์เป็นตัวแทนของบุคลากรสายแพทย์ขององค์กร ผู้บริหารด้านพยาบาลเป็นตัวแทนของพยาบาลในทุกระดับขององค์กร ผู้บริหาร และบุคคลที่องค์กรเลือก เช่น ผู้บริหารด้านคุณภาพ หรือประธานฝ่ายบุคคล | ในองค์กรที่ใหญ่ขึ้นที่มีโครงสร้างองค์กรที่แตกต่างกัน เช่น ระดับแผนก ผู้นำองค์กรจะรวมผู้นำของแผนกเหล่านี้ | แต่ละองค์กรระบุผู้นำขององค์กร และมาตรฐาน GLD.3 ถึง GLD.7.1 อธิบายความรับผิดชอบของกลุ่มนี้ | GLD.8 อธิบายความรับผิดชอบของบุคลากรด้านคลินิก อย่างไรก็ตาม จะเป็นการจัดตั้งอย่างเป็นทางการหรือไม่เป็นก็ได้ | ในศูนย์วิชาการทางการแพทย์ ผู้นำของการศึกษาแพทย์และผู้นำของการวิจัยทางคลินิกอาจเป็นส่วนหนึ่งของผู้นำองค์กร

ระดับที่ 4: ผู้นำของแผนก/หน่วยบริการ
สำหรับการส่งที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลของบริการทางคลินิกและการจัดการองค์กร องค์กรส่วนใหญ่จะแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย เช่น แผนก บริการ หรือหน่วยย่อย แต่ละกลุ่มย่อยอยู่ในการควบคุมของผู้นำแผนก/หน่วยบริการ | มาตรฐาน GLD.9 ถึง GLD.11.2 อธิบายความคาดหวังของผู้นำแผนก/หน่วยบริการ | โดยปกติ กลุ่มย่อยประกอบด้วยแผนกด้านคลินิก เช่น แผนกยา ศัลยกรรม สูติวิทยา กุมารเวชศาสตร์ และอื่นๆ กลุ่มพยาบาลกลุ่มย่อย แผนกวินิจฉัยหรือหน่วยบริการ เช่น รังสีวิทยาและห้องปฏิบัติการทางคลินิก บริการทางเภสัชกรรม ทั้งส่วนกลางและกระจายไปทั่วองค์กร และบริการเสริม เช่น การขนส่ง สังคมสงเคราะห์ การเงิน การจัดซื้อ การจัดการสิ่งอำนวยความสะดวก และแผนกทรัพยากรบุคคล | ส่วนใหญ่องค์กรขนาดใหญ่มีผู้บริหารในกลุ่มย่อยเหล่านี้ | เช่น พยาบาลอาจจะมีผู้จัดการของห้องผ่าตัด และผู้จัดการของแผนกผู้ปวยนอก แผนกเภสัชอาจมีผู้บริหารของหน่วยงานทางคลินิก และสำนักงานในองค์กรอาจมีผู้จัดการสำหรับหน่วยบริการธุรกิจที่แตกต่างกัน เช่น การควบคุมเตียง การเก็บเงิน การจัดซื้อ และอื่นๆ

ท้ายที่สุดมีข้อกำหนดในบท GLD ที่เกี่ยวข้องกับทุกระดับที่อธิบายข้างต้น | มาตรฐานนั้นมีใน GLD.12 ถึง GLD.19 และรวมถึงวัฒนธรรมความปลอดภัยของจริยธรรม และการศึกษาและการวิจัยของผู้ประกอบวิชาชีพ

GLDchart