fbpx
WeLoveMed.com

ASC การทำให้สงบ

การทำให้สงบ (Sedation Care)

มาตรฐาน ASC.3 (ทำให้ชัดเจน)
มีนโยบายและระเบียบปฏิบัติชี้นำแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการทำให้สงบ

เจตนาของ ASC.3
การทำให้สงบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำให้สงบในระดับกลางและระดับลึก ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อผู้ป่วย แม้จะไม่ได้คำนึงถึงปริมาณการใช้ยา | จึงจำเป็นต้องใช้คำจำกัดความ นโยบาย และระเบียบปฏิบัติที่ชัดเจนในที่ต่างๆ ขององค์กรภายนอกห้องผ่าตัด และทั่วทั้งองค์กร | คุณสมบัติของบุคลากรที่มีส่วนร่วมในระเบียบวิธีปฏิบัติ เทคโนโลยีเกี่ยวกับยา การจัดหาวัสดุ และการตรวจติดตามจะต้องทำในแนวทางเดียวกันเมื่อมีการทำให้สงบ | ดังนั้นองค์กรต้องจัดทำระเบียบวิธีปฏิบัติโดยเฉพาะเพื่อเป็นแนวทางสำหรับการทำให้สงบทำได้อย่างไรและที่ไหน

นโยบายและระเบียบปฏิบัติในการทำให้สงบ ระบุสิ่งต่อไปนี้

a) พื้นที่ในองค์กรที่ที่มีการทำให้สงบ
b) คุณสมบัติหรือทักษะพิเศษของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทำให้สงบ
c) การระบุความแตกต่างระหว่างกลุ่มผู้ป่วยเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ หรือข้อพิจารณาพิเศษอื่นๆ
d) การใช้เทคโนโลยีทางยาเฉพาะทาง และ
e) การได้รับความยินยอม (informed consent) สำหรับทั้งวิธีปฏิบัติและการทำให้สงบ (ดูที่ PFR.5.2)

เทคโนโลยีทางยาและวัสดุสำหรับภาวะฉุกเฉินเหมาะสมกับอายุและประวัติของผู้ป่วย และมีการแสดงชัดเจนถึงกระบวนการที่ได้ทำไป

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของมาตรฐาน ASC.3
Ο 1. มีนโยบายและระเบียบปฏิบัติใช้เป็นมาตรฐานทั้งองค์กร
Ο 2. นโยบายและระเบียบปฏิบัติที่เหมาะสม ซึ่งประกอบด้วย a) ถึง e) ในหัวข้อเจตนาเป็นอย่างน้อย
Ο 3. มีการแสดงชัดเจนสำหรับเทคโนโลยีทางยาและวัสดุสำหรับภาวะฉุกเฉิน และการปรับเปลี่ยนวิธีทำให้สงบ และ อายุและสภาวะทางยาของผู้ป่วย
Ο 4. มีการอบรมการติดตามเฝ้าระวังผู้ป่วยในช่วงเวลาที่ทำให้สงบ (ดูที่ COP.3.2)


มาตรฐาน ASC.3.1
มีผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับผู้ปฏิบัติวิชาชีพที่ทำให้สงบและผู้ทำหน้าที่ติดตามเฝ้าระวังผู้ป่วยขณะทำให้สงบ

เจตนาของ ASC.3.1
คุณสมบัติของแพทย์ หรือบุคคลอื่นที่รับผิดชอบดูแลผู้ป่วย ที่ได้รับการทำให้สงบระดับกลางและระดับลึกเป็นสิ่งสำคัญ | ความเข้าใจวิธีการสำหรับทำให้สงบซึ่งขึ้นอยู่กับผู้ป่วยและชนิดของวิธีปฏิบัติจะช่วยลดความเจ็บปวดและลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อน | ภาวะแทรกซ้อนขึ้นอยู่กับวิธีการทำให้สงบ ซึ่งรวมถึง การควบคุมหัวใจและการหายใจ | ดังนั้น การรับรองในการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานเป็นสิ่งจำเป็น | นอกจากนี้ความรู้ในเรื่องยาสำหรับทำให้สงบและทำให้ฟื้นตัวจะช่วยลดความเสี่ยงของผลที่เป็นอันตราย บุคคลนั้นต้องมีความชำนาญในสิ่งต่อไปนี้

a) เทคนิคของวิธีการทำให้สงบต่างๆ
b) การใช้ยาในการทำให้สงบและการใช้สารแก้ฤทธิ์
c) การเฝ้าติดตามที่เหมาะสม และ
d) การตอบสนองต่อภาวะแทรกซ้อน

นักปฏิบัติวิชาชีพซึ่งอยู่ในกระบวนการทำให้สงบ จะต้องไม่เป็นบุคคลเดียวกับผู้ทำหน้าที่ติดตามผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง | การแยกหน้าที่ให้ผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมทำหน้าที่ ติดตามเฝ้าระวังตัวแปรด้านสรีรวิทยาของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง และช่วยในการดูแลทั่วไปหรือการช่วยการพักฟื้น | บุคคลนั้นต้องมีความชำนาญในสิ่งต่อไปนี้

e) การเฝ้าติดตามที่เหมาะสม
f) การตอบสนองต่อภาวะแทรกซ้อน
g) การใช้สารแก้ฤทธิ์ และ
h) เกณฑ์ในการพักฟื้น

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของมาตรฐาน ASC.3.1
Ο 1. นโยบายและระเบียบปฏิบัติที่เหมาะสม ซึ่งประกอบด้วยข้อ a) ถึง d) ในหัวข้อเจตนาเป็นอย่างน้อย ให้แนวทางการดูแลผู้ป่วยที่ถูกทำให้สงบ
Ο 2. บุคลากรที่ทำหน้าที่ติดตามผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องต้องปฏิบัติตามอย่างน้อยในข้อ e) ถึง h) ในหัวข้อเจตนา
Ο 3. มีการบันทึกกระบวนการทำให้สงบโดยบุคลากรทั้งหมดในกระบวนการลงในเวชระเบียน


 มาตรฐาน ASC.3.2
มีการบันทึกและตรวจติดตามกระบวนการทำให้สงบเพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการปฏิบัติงานด้านวิชาชีพ ℗

เจตนาของ ASC.3.2
การทำให้สงบเป็นภาวะต่อเนื่อง (continuum) จากการทำให้สงบระดับเบา (mild sedation) ไปถึงการทำให้สงบระดับลึก (deep sedation) และผู้ป่วยจะรู้สึกในระดับที่หนึ่งไปอีกระดับ | หลายๆ ปัจจัยมีผลต่อการตอบสนองของผู้ป่วยจนกระทั่งสงบ | ปัจจัยรวมถึงยาที่ให้ วิธีการให้ยา และปริมาณยาที่ใช้ อายุของผู้ป่วย (เด็ก ผู้ใหญ่ หรือผู้สูงอายุ) และประวัติการให้ยาของผู้ป่วย | ตัวอย่างเช่น ประวัติการเสื่อมของร่างกายส่วนที่สำคัญ การใช้ยาในปัจจุบันอาจจะมีผลต่อการใช้ยาทำให้สงบ การแพ้ยา ประวัติการตอบสนองที่อาจะเป็นอันตรายต่อการระงับความรู้สึกหรือทำให้สงบ และการใช้ยาหรือแอลกอฮอล์ที่เกินขนาด (substance abuse) อาจจะส่งผลในการตอบสนองต่อกระบวนการทำให้สงบได้เช่นกัน | ถ้าสภาวะทางร่างกายของผู้ป่วยมีความเสี่ยงสูง จะต้องพิจารณาถึงความจำเป็นที่จะรักษาผู้ป่วย และเลือกกระบวนการทำให้สงบอย่างเหมาะสม
การประเมินผู้ป่วยก่อนการทำให้สงบช่วยระบุปัจจัยที่อาจจะส่งผลต่อการตอบสนองของผู้ป่วยต่อกระบวนการทำให้สงบและช่วยระบุการค้นพบระหว่างการติดตามผู้ป่วยในระหว่างและหลังการทำให้สงบ | ผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมเป็นผู้รับผิดชอบในการประเมินผู้ป่วย ดังต่อไปนี้

a) ระบุปัญหาจากการหายใจที่อาจจะมีผลต่อการเลือกวิธีทำให้สงบ
b) ประเมินความเสี่ยงของผู้ป่วยเพื่อใช้กระบวนการทำให้สงบที่เหมาะสมกับผู้ป่วย
c) วางแผนชนิดของการทำให้สงบและระดับที่จำเป็นต่อผู้ป่วยขึ้นอยู่กับกระบวนการที่ใช้อยู่
d) ดูแลการทำให้สงบอย่างปลอดภัย
e) การแปลผลข้อมูลจากการเฝ้าติดตามผู้ป่วยระหว่างการทำให้สงบและการพักฟื้น

นโยบายขององค์กรกำหนดขอบเขตและรายละเอียดของการประเมินนี้
ขณะผู้ป่วยอยู่ในการทำให้สงบ มีการตรวจติดตามระดับของการมีสติ การใช้เครื่องช่วยหายใจและสถานะออกซิเจน และความดันโลหิต ซึ่งขึ้นอยู่กับ ชนิดและปริมาณการใช้ยา ระยะเวลาของกระบวนการ และชนิดและสภาวะของผู้ป่วย | สิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงได้แก่ความสามารถที่ผู้ป่วยจะคงไว้ซึ่งการตอบสนองอัตโนมัติเพื่อการป้องกัน (protective reflexes) การมีทางเดินหายใจที่เปิดโล่งตลอดเวลา การตอบสนองต่อการกระตุ้นทางกายภาพหรือการสั่งด้วยวาจา | ผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมทำหน้าที่ติดตามเฝ้าระวังตัวแปรด้านสรีรวิทยาของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง และช่วยในการดูแลทั่วไปหรือการช่วยทำให้ฟื้น
เมื่อกระบวนการทำให้สงบสิ้นสุดลง ผู้ป่วยอาจจะมีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากความล่าช้าในการดูดซึมยาทำให้สงบ ระบบทางเดินหายใจ และ/หรือการขาดการกระตุ้นจากกระบวนการ | ผู้ป่วยต้องการการติดตามอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งใกล้ระดับที่มีสติและความดันโลหิตปกติ | หลักเกณฑ์มีวัตถุประสงค์ช่วยในการระบุผู้ป่วยที่จะฟื้นและ/หรือพร้อมสำหรับการจำหน่าย (ดูที่ QPS.8, ME 6)

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของมาตรฐาน ASC.3.2
Ο 1. มีการประเมินผู้ป่วยก่อนการทำให้อย่างสอดคล้องกับนโยบายขององค์กร โดยรวมข้อ a) ถึง e) ในหัวข้อเจตนา เพื่อประเมินความเสี่ยงและความเหมาะสมในการทำให้ผู้ป่วยสงบ และบันทึกไว้ (ดูที่ AOP.1, MEs 1 และ 2)
Ο 2. ผู้คุณสมบัติเหมาะสมติดตามเฝ้าระวังผู้ป่วยในช่วงเวลาที่ทำให้สงบ พร้อมทั้งบันทึกผลการเฝ้าติดตาม
Ο 3. มีการนำเกณฑ์ที่กำหนดไว้มาใช้สำหรับการพักฟื้นและจำหน่ายจากการทำให้สงบ และบันทึกไว้


มาตรฐาน ASC.3.3
มีการอธิบายเรื่องความเสี่ยง ประโยชน์ และทางเลือกของการทำให้สงบ ให้กับผู้ป่วย ครอบครัว หรือผู้ที่ตัดสินใจแทนผู้ป่วยได้

เจตนาของ ASC.3.3
ในการวางแผนกระบวนการทำให้สงบ มีการให้ความรู้กับผู้ป่วย ครอบครัว หรือผู้ที่ตัดสินใจแทนได้รับความรู้ถึงความเสี่ยง ประโยชน์ และทางเลือก | การอภิปรายเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเพื่อให้ได้รับการยินยอม (consent) ตามข้อกำหนดใน PFR.5.2 | บุคลากรที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเป็นผู้ให้ความรู้นี้

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของมาตรฐาน ASC.3.3
Ο 1. ผู้ป่วย ครอบครัว และ/หรือผู้ที่ตัดสินใจแทนได้รับความรู้ถึงความเสี่ยง ประโยชน์ และทางเลือก เกี่ยวกับกระบวนการทำให้สงบ
Ο 2. ผู้ป่วย ครอบครัว และ/หรือผู้ที่ตัดสินใจแทนได้รับความรู้เกี่ยวกับหลังการระงับความรู้สึกเจ็บปวด
Ο 3. บุคลากรที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเป็นผู้ให้ความรู้


ASC – การจัดระบบและการจัดการ | การทำให้สงบ | การระงับความรู้สึก | การดูแลทางศัลยกรรม