fbpx
WeLoveMed.com

คำถามเรื่องเหงื่อออกมากในตปท.

คำถามเรื่องเหงื่อออกมากผิดปกติ (Hyperhidrosis) ในต่างประเทศโดย John Hopkins

https://www.hopkinsmedicine.org/health/conditions-and-diseases/excessive-sweating

1. Hyperhidrosis คืออะไร

Hyperhidrosis เป็นภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติ Hyper มีความหมายว่า “มาก” และ hidrosis หมายความว่า “เหงื่อ” ร่างกายใช้เหงื่อเพื่อเป็นการควบคุมอุณหภูมิและเหงื่อเป็นการทำให้ร่างกายเย็นขึ้นทางหนึ่ง เมื่อบุคคลใดมีเหงื่อมากเกินไป คนนั้นอาจจะเรียกได้ว่ามีภาวะนี้

ภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติทำให้เกิดการเลี่ยงการเข้าสังคม เนื่องจากความอายจากการมีเหงื่อมากเกินไป ภาวะนี้เกิดขึ้นได้ 3% ของประชากร

บุคคลที่มีภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติ มีจำนวนต่อมเหงื่อปกติแต่การตอบรับของประสาทอัตโนมัติสูงกว่าปกติ ซึ่งหมายความว่า เมื่อเริ่มมีเหงื่อออก จะออกมากผิดปกติ โดยที่แพทย์ไม่ทราบเหตุผล

ข่าวดีคือมีวิธีรักษาเหงื่อออกมากผิดปกติ หลายวิธี

 2. อะไรทำให้เกิดภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติ

ภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติแบ่งเป็น 2 ชนิด

  • กลุ่มปฐมภูมิ (Primary hyperhidrosis): บ่อยครั้งเป็นความผิดปกติที่เกิดจากพันธุกรรม ซึ่งหมายความว่ามีคนในครอบครัวเป็นภาวะนี้
  • กลุ่มทุติยภูมิ (Secondary hyperhidrosis): เกิดจากสภาวะบางอย่าง การใช้ยา หรือพฤติกรรมบางอย่าง (เช่น การติดแอลกอฮอล์ชนิดเรื้อรัง)

3. ส่วนไหนของร่างกายที่มีภาวะเหงื่อออกมากกว่าปกติ

มีหลายส่วนของร่างกายที่บุคคลมีภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติ

  • เหงื่อออกมากเกินไปที่ฝ่ามือ (Palmar hyperhidrosis)
  • เหงื่อออกมากเกินไปที่รักแร้ (Axillary hyperhidrosis)
  • เหงื่อออกมากเกินไปที่ฝ่าเท้า (Pedal hyperhidrosis) เหงื่อออกที่มือจะเชื่อมโยงกับเหงื่อที่ออกเท้า
  • เหงื่อออกมากเกินไปที่ใบหน้า/หน้าแดง (Facial Hyperhidrosis/Blushing)

4. ภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติสามารถหายได้หรือไม่

ถ้าภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติมีสาเหตุมาจากพันธุกรรม ภาวะนี้จะไม่หายไป ข่าวดีคือมีการรักษาหลายรูปแบบกับแพทย์ที่ Johns Hopkins

5. จะวินิจฉัยว่าเป็นภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติได้อย่างไร

ส่วนใหญ่แล้ว แพทย์สามารถวินิจฉัยภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติโดยฟังจากประวัติผู้ป่วย อย่างแรกคือ ก่อนที่จะแนะนำการรักษา จะดูว่าสาเหตุใดที่ทำให้มีอาการ หลังจากนั้นจะทำการทดสอบ รวมไปถึง การทดสอบโดยใช้แป้งไอโอดีน และการทดสอบโดยใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า vapometer เพื่อวัดปริมาณเหงื่อที่ออกจากส่วนต่างๆ ของร่างกาย

6. การรักษาภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติมีอะไรบ้าง

เราเข้าใจถึงภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติส่งผลต่อคุณภาพชีวิตอย่างไร แพทย์ของเรารักษาภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติด้วยความจริงจังมาก แต่ทำด้วยความปลอดภัยที่สุดที่มีการรักษาอยู่ ถ้าภาวะเหงื่อออกชนิดปานกลาง การรักษาด้วยความระมัดระวังหลายๆ วิธีช่วยได้

หลังจากที่วินิจฉัยว่าเป็นภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติกลุ่มปฐมภูมิ แพทย์จะทำการแนะนำวิธีการรักษาอย่างระมัดระวังก่อนที่จะทำการศัลยกรรม วิธีนี้รวมถึง

  • การทานยา : การใช้ยาเม็ดจะมีผลทั่วร่างกาย ซึ่งเรียกว่า การรักษาทั้งระบบ เรียกว่า anticholinergics ทำให้เกิดภาวะแห้งทั้งร่างกายและจะทำให้ปากแห้ง ตาแห้งและอาจระคายเคืองได้
  • การใช้ยาทา เช่น อลูมิเนียมคลอไรด์ : ครีมชนิดนี้จะทำงานได้ดีในตอนเย็น หลังจากที่ทาที่มือหรือส่วนอื่นๆ ของร่างกาย จะต้องทำการคลุมพื้นที่นั้นและสวมใส่ป้องกันพื้นที่นั้นตลอดทั้งคืน ในตอนเช้าบริเวณนั้นจะแห้งได้
  • การใช้ไฟฟ้ากระตุ้น (Iontophoresis) : เป็นการรักษาด้วยกระแสไฟฟ้าใช้สำหรับรักษาภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติที่มือและเท้า โดยการวางมือในน้ำที่มีกระแสไฟฟ้าผ่าน กระแสไฟฟ้าจะช่วยลดการทำงานของต่อมเหงื่อ ต้องทำ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์เป็นเวลา 20-30 นาทีต่อครั้ง มีขั้นตอนการสร้างอุปกรณ์ในอินเตอร์เน็ต คำเตือน ห้ามใช้แบตเตอรี่รถยนต์และถาดอลูมิเนียมใส่พายในการทำอุปกรณ์ใช้ไฟฟ้ากระตุ้น เนื่องจากเป็นอันตรายมาก
  • การทำโบท็อกซ์ (Botulinum Toxin) : เป็นที่รู้จักกันว่าโบท็อกซ์จะช่วยลดภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติที่หน้า มือ และรักแร้ ซึ่งต้องการจำนวนที่ฉีดเข้าไป เช่น ที่มือจะต้องการประมาณ 40 จุด และผู้ป่วยหลายๆ คนต้องใช้การระงับความเจ็บปวดแบบเบาหรือแบบทั่วไป วิธีนี้จะช่วยลดเหงื่อได้ 3-6 เดือน สังเกตได้ว่าเราไม่ได้ทำการรักษาชนิดโบท็อกซ์
  • การใช้คลื่นไมโครเวฟ (Microwave Thermolysis) : วิธีการนี้จะใช้คลื่นไมโครเวฟไปทำลายต่อมเหงื่อที่รักแร้ การวิจัยพบว่าวิธีนี้ส่งผลได้ดีมาก เหงื่อแห้งเป็นเวลา 2 ปี ปกติจะรักษา 2-3 ครั้งสำหรับระยะเวลา 3-6 เดือน

7. คาดหวังอะไรจากการรักษาด้วยวิธีใช้คลื่นไมโครเวฟ

ก่อนการรักษา แพทย์จะทำให้บริเวณรักแร้ชา ผิวหนังที่รักแร้จะถูกยกขึ้นและใช้คลื่นไมโครเวฟไปที่ต่อมเหงื่อ วิธีนี้ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงและไม่มีการผ่าตัดหรือบาดแผล ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกเจ็บปวด หลังจากการรักษา 2 วิธีในศูนย์ของเรา 95% ของผู้ป่วยพบว่าเหงื่อที่รักแร้ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ผู้ป่วยสามารถกลับไปทำกิจกรรมปกติหรือทำงานได้ทันที และสามารถออกกำลังกายภายในไม่กี่วันถัดมา

8. การรักษาภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติด้วยการผ่าตัดเป็นอย่างไร

  • ถ้าใช้วิธีรักษาภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติและพบว่าไม่สำเร็จตามที่หวัง แพทย์จะแนะนำวิธีการผ่าตัดรักษา ซึ่งเรียกว่า sympathectomy หรือ sympathotomy วิธี sympathectomy คือการกำจัดปมประสาทอัตโนมัติ (sympathetic nerve) แพทย์ของเราที่ Johns Hopkins จะทำการตัดเส้นประสาทมากกว่าที่จะเอาออก ดังนั้นจึงเรียกวิธีการผ่าตัดว่า sympathotomy
  • ถ้าผู้ป่วยไม่ได้มีเหงื่อออกมาเป็นเวลานานแล้ว (ที่แขน มือ และเท้า) จะไม่ได้เป็นผู้ป่วยที่ควรรักษาด้วยวิธี sympathotomy ถ้ามีภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติที่บางส่วน (เหงื่อออกที่ร่างกายหรือขาหนีบ) ก็ไม่ควรรักษาด้วยวิธีผ่าตัด
  • สำหรับการรักษาภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติ ศัลยแพทย์ได้เคยเปิดหน้าอกเพื่อทำการตัดปมประสาทอัตโนมติ ที่ทำการควบคุมการหลังเหงื่อ ปัจจุบันเรามี VATS (Video Assisted Thoracic Surgery) ศัลยแพทย์จะทำการผ่าตัดแผลเล็กที่รักแร้ และใช้กล้องเล็กๆ และแสงไฟ เพื่อทำการระบุตำแหน่งปมประสาทอัตโนมัติและทำการตัดในตำแหน่งที่เหมาะสม การขยายให้เห็นภาพของปมประสาทอัตโนมัติโดย VATS ช่วยลดความจำเป็นที่จะต้องเปิดหน้าอกผู้ป่วย
  • VATS ได้ช่วยเพิ่มความแม่นยำในการระบุตำแหน่งปมประสาทที่ถูกต้องที่จะทำการตัดออกไป
  • ศัลยแพทย์ได้ใช้วิธีการหนีบที่ปมประสาทด้วยคลิป ด้วยความคิดที่ว่า ถ้าใช้คลิปหนีบแล้วหลังผ่าตัดมีเหงื่อชดเชยมากเกินไปจนผู้ป่วยรับไม่ได้ จะแก้ได้โดยการเอาคลิปออก แต่ยังไม่มีรายงานที่ชัดเจนว่าการหนีบปมประสาทด้วยคลิปสามารถยกเลิกได้จริง จนถึงปัจจุบันหลักฐานที่ดีที่สุดแนะนำว่า ผลการรักษาการหนีบด้วยคลิปและการตัดปมประสาทได้ผลไม่ต่างกัน แม้จะมีการศึกษาว่าจะต้องทำการเปรียบเทียบทั้งสองวิธีด้วยเช่นกัน
  • เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ sympathotomy

แพทย์จะทำการตัดปมประสาทอัตโนมัติขึ้นอยู่กับภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติของแต่ละคน

ชนิดของเหงื่อออกมากผิดปกติ : ฝ่ามือ (มือ)
ปมประสาทอัตโนมัติที่ทำการตัด : ซี่โครง (Ribs) ที่ 3 หรือ 4

ชนิดของเหงื่อออกมากผิดปกติ : รักแร้
ปมประสาทอัตโนมัติที่ทำการตัด : ซี่โครงที่ 4 หรือ 5

ชนิดของเหงื่อออกมากผิดปกติ : ใบหน้า
ปมประสาทอัตโนมัติที่ทำการตัด : ใกล้ซี่โครงที่ 3

เมื่อก่อนศัลยแพทย์จะทำการตัดใกล้ซี่โครงที่ 2 แต่ปัจจุบันพบว่าทำให้มีเหงื่อออกชดเชย ซึ่งเป็นเป็นผลไม่ดีของการผ่าตัดที่ผู้ป่วยมีเหงื่อออกที่ส่วนอื่นๆ ของร่างกายมากเกินไป ที่ Johns Hopkins จึงไม่ทำการรักษาที่ตำแหน่งนั้น

9. คาดหวังอะไรจากการผ่าตัดรักษา

การผ่าตัดถือเป็นคนไข้นอกซึ่งหมายความว่าสามารถออกจากโรงพยาบาลในวันเดียวกัน

10. ความพึงพอใจของผู้ป่วยหลังผ่าตัดเป็นอย่างไร

ผู้ป่วยโดยทั่วไปพึงพอใจกับการผ่าตัด ในระดับที่ต่างกันขึ้นอยู่กับภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติที่ส่วนใด ผู้ป่วยที่ทำการผ่าตัดรักษาเหงื่อออกที่มือจะพึงพอใจกับผลการรักษา รายงานพบว่าสูงถึง 90% พึงพอใจ ในขณะที่ผู้ป่วยที่มีเหงื่อออกมากที่รักแร้และหน้ามีความพึงพอใจ 70 ถึง 80%

11. เหงื่อชดเชยคืออะไร

เหงื่อชดเชยเกิดขึ้นเมื่อภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติที่เริ่มต้นไม่เกิดขึ้นอีก แต่จะไปเกิดที่ลำตัวหรือด้านหลังของขาหรือเข่าด้านหลัง ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังจากการผ่าตัด และจะไม่เกิดขึ้นโดยทันที จะใช้เวลาหลังจาก 6 สัปดาห์ หลังจากผ่าตัดและแพทย์ไม่ทราบสาเหตุ แต่สิ่งที่รู้คือ ยิ่งผ่าตัดที่ปมประสาทอัตโนมัติที่สูงขึ้นจะทำให้เกิดเหงื่อชดเชยมาก ดังนั้นปัจจุบันศัลยแพทย์หลีกเลี่ยงการตัดเหนือตำแหน่งซี่โครงที่ 3

เหงื่อชดเชยขึ้นอยู่กับฤดูกาลเช่นกัน แพทย์ที่ Johns Hopkins สังเกตได้ว่าผู้ป่วยดีขึ้นในช่วงฤดูหนาวและมีเหงื่อออกมากในช่วงฤดูร้อน

เมื่อผู้ป่วยมีความไม่สบายใจเกี่ยวกับเหงื่อชดเชย การรักษาวิธีอื่นจะช่วยได้

12. มีทางที่จะยกเลิกการผ่าตัดไหม

แพทย์บางคนได้ทำการทดลองตัดต่อปมประสาทเพื่อทำการเชื่อมรอยตัดให้ปมประสาทอัตโนมัติกลับมาเป็นเหมือนเดิม อย่างไรก็ตาม ไม่มีวิธีไหนที่ประสบความสำเร็จ ดังนั้นจึงต้องทำความเข้าใจว่า sympathotomy เป็นวิธีการที่ถาวรและมีความเสี่ยง

13. เบิกประกันค่ารักษาได้หรือไม่

ประกันสุขภาพส่วนใหญ่รวมการผ่าตัดนี้ด้วย แต่ผู้ป่วยจำเป็นต้องตรวจสอบนโยบายของประกันที่มีอยู่ เราพบว่าสามารถเบิกค่าประกันการรักษาได้มากขึ้นเมื่อมีการบันทึกว่าได้พยายามรักษาโดยวิธีอื่นมาแล้ว เช่น การใช้ยา การใช้กระแสไฟฟ้ากระตุ้น และการทำโบท็อกซ์ ถ้าผู้ป่วยเปิดเผยการรักษาด้วยวิธีอื่น เราก็จะช่วยเปิดเผยว่าผู้ป่วยได้พยายามรักษาโดยวิธีอื่นแล้ว