ความปลอดภัยด้านอัคคีภัย (Fire Safety)
มาตรฐาน FMS.7
องค์กรวางแผนโปรแกรมสำหรับการป้องกัน การตรวจจับแต่แรกเริ่ม การดับเพลิง การบรรเทา และทางออกที่ปลอดภัย เพื่อตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉินจากอัคคีภัยหรือภาวะฉุกเฉินอื่นๆ ℗
มาตรฐาน FMS.7.1
องค์กรทดสอบแผนความปลอดภัยจากอัคคีภัยและควันไฟอย่างสมํ่าเสมอ รวมถึงทดสอบอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจจับและดับเพลิงแต่แรกเริ่ม และบันทึกผล ℗
เจตนาของ FMS.7 และ FMS.7.1
อัคคีภัยเป็นความเสี่ยงที่มีอยู่เสมอในสถานพยาบาล. ดังนั้น ทุกองค์กรจำเป็นต้องวางแผนวิธีการที่จะทำให้ทุกคนในองค์กรปลอดภัยจากอัคคีภัยและควันไฟ | องค์กรวางแผนสำหรับสิ่งต่อไปนี้
- การป้องกันอัคคีภัยด้วยการลดความเสี่ยง เช่น การจัดเก็บและหยิบสัมผัสวัสดุที่ติดไฟง่ายอย่างปลอดภัย รวมทั้งก๊าซทางการแพทย์ที่ติดไฟง่ายอย่างออกซิเจน
- อันตรายจากการก่อสร้างภายในอาคารที่มีผู้ป่วยอยู่หรือบริเวณใกล้เคียง
- ทางหนีไฟที่ปลอดภัยและไม่มีสิ่งกีดขวาง
- ระบบเตือนภัย ระบบตรวจจับแต่แรกเริ่ม เช่น อุปกรณ์ตรวจจับควัน สัญญาณเตือนเมื่อเกิดอัคคีภัยหน่วยตรวจอัคคีภัย และ
- ระบบดับเพลิง เช่น ท่อดับเพลิง เคมีดับเพลิง ระบบสปริงเกอร์
เมื่อนำการสิ่งเหล่านี้มาใช้ประกอบกัน จะทำให้ผู้ป่วย ครอบครัว บุคลากร และผู้มาเยือน มีเวลาที่จะออกจากอาคารได้อย่างปลอดภัยเมื่อมีอัคคีภัยหรือควันไฟ | เป็นการกระทำที่ได้ผลไม่ว่าอาคารจะมีอายุ ขนาด หรือลักษณะการก่อสร้างอย่างไร | ตัวอย่างเช่น อาคารก่ออิฐขนาดเล็กชั้นเดียว จะใช้วิธีที่แตกต่างจากอาคารไม้ขนาดใหญ่หลายชั้น
แผนความปลอดภัยด้านอัคคีภัยขององค์กรระบุ
- ความถี่ของการตรวจสอบ การทดสอบ และการบำรุงรักษาระบบป้องกันเพลิงและความปลอดภัย สอดคล้องกับข้อกำหนด
- แผนอพยพผู้อยู่ในอาคารอย่างปลอดภัยเมื่อเกิดเพลิงไหม้หรือควัน
- กระบวนการทดสอบทุกส่วนของแผนในรอบเวลา 12 เดือน
- การให้ความรู้ที่จำเป็นแก่บุคลากรเพื่อให้สามารถปกป้องและอพยพผู้ป่วยอย่างได้ผลเมื่อมีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น และ
- การมีส่วนร่วมของบุคลากรในการฝีกซ้อมความปลอดภัยจากอัคคีภัยอย่างน้อยปีละครั้ง
การทดสอบแผนอาจดำเนินการได้หลายวิธี | เช่น องค์กรอาจมอบหมายให้มี “ผู้บัญชาการดับเพลิง” (fire marshal) สำหรับแต่ละหน่วยงาน ให้มีหน้าที่สุ่มทดสอบบุคลากรในหน่วยว่าจะต้องทำอะไรเมื่อเปิดเพลิงไหม้ขึ้นภายในหน่วยงาน | บุคลากรอาจจะถูกถามคำถามเฉพาะ เช่น วาล์วปิดออกซิเจนอยู่ตรงไหน? ถ้าต้องปิดวาล์วออกซิเจน จะดูแลผู้ป่วยที่ต้องใช้ออกซิเจนอย่างไร? ถังดับเพลิงของหน่วยงานอยู่ที่ไหน? จะรายงานเมื่อเกิดเพลิงไหม้อย่างไร? จะปกป้องผู้ป่วยระหว่างเกิดเพลิงไหม้อย่างไร? ถ้าต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วย กระบวนการของคุณเป็นอย่างไร? | บุคลากรจะต้องสามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้อย่างเหมาะสม | ถ้าไม่สามารถตอบได้จะต้องมีการบันทึกไว้และจัดทำแผนให้ความรู้ซํ้า | ผู้บัญชาการดับเพลิงประจำหน่วยจัดทำบันทึกการเข้าร่วม | องค์กรอาจจัดให้มีการสอบข้อเขียนสำหรับบุคลากรเกี่ยวกับความปลอดภัยจากอัคคีภัย เป็นส่วนหนึ่งของการทดสอบแผน | การตรวจสอบ การทดสอบ และการบำรุงรักษา ได้รับการบันทึกไว้ (ดูที่ PFR.1.5)
องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ FMS.7
Ο 1. องค์กรวางแผนโปรแกรมเพื่อสร้างความมั่นใจว่าผู้อยู่ในอาคารสถานที่ขององค์กรจะปลอดภัยจากอัคคีภัย ควันไฟ หรือภาวะฉุกเฉินอื่นๆ และนำไปปฏิบัติ
Ο 2. โปรแกรมความปลอดภัยด้านอัคคีภัยรวมถึงการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้ เมื่อมีการก่อสร้างอยู่ในบริเวณอาคารสถานที่หรือบริเวณใกล้เคียง
Ο 3. โปรแกรมความปลอดภัยด้านอัคคีภัยรวมถึงการตรวจพบเพลิงไหม้และควันแต่แรกเริ่ม
Ο 4. โปรแกรมความปลอดภัยด้านอัคคีภัยรวมถึงการดับเพลิงและการควบคุมควัน
Ο 5. โปรแกรมความปลอดภัยด้านอัคคีภัยรวมถึงทางออกจากอาคารที่ปลอดภัยเมื่อเกิดเพลิงไหม้ และภาวะฉุกเฉินอื่นๆ
องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ FMS.7.1
1. บุคลากรทุกคนมีส่วนร่วมในการทดสอบความปลอดภัยจากอัคคีภัยและควันไฟอย่างน้อยปีละครั้ง (ดูที่ FMS.11-FMS.11.2)
2. บุคลากรสามารถแสดงให้เห็นวิธีการที่จะนำผู้ป่วยมาสู่ความปลอดภัย
3. มีการตรวจสอบ ทดสอบ และบำรุงรักษา ระบบตรวจจับและดับเพลิง ตามความถี่ที่ผู้ผลิตกำหนด
4. มีการบันทึกการตรวจสอบ การทดสอบ และการบำรุงรักษาเครื่องมือและระบบ
มาตรฐาน FMS.7.2
องค์กรจัดทำแผนเพื่อจำกัดการสูบบุหรี่ของเจ้าหน้าที่และผู้ป่วยให้อยู่ในพื้นที่ที่จัดไว้นอกบริเวณดูแลผู้ป่วย ℗
เจตนาของ FMS.7.2
องค์กรจัดทำนโยบายและแผนเพื่อจำกัดการสูบบุหรี่ ซึ่ง
– ใช้กับผู้ป่วย ครอบครัว บุคลากร และผู้มาเยือน ทุกคน และ
– ไม่ให้มีการสูบบุหรี่ในอาคารสถานที่ขององค์กร หรือจำกัดให้มีการสูบบุหรี่เฉพาะในเขตที่จัดไว้ให้ซึ่งอยู่นอกพื้นที่การดูแลผู้ป่วยและมีการระบายอากาศสู่ภายนอก
นโยบายขององค์กรเรื่องการสูบบุหรี่ระบุข้อยกเว้นการบังคับใช้นโยบายเกี่ยวกับผู้ป่วย เช่น เหตุผลทางการแพทย์หรือจิตเวชที่จะอนุญาตให้ผู้ป่วยสูบบุหรี่ได้ และผู้ที่มีสิทธิที่จะให้การอนุญาตใช้ข้อยกเว้นดังกล่าว | ผู้ป่วยที่ได้รับการยกเว้น สูบบุหรี่ในบริเวณที่จัดไว้ให้ในที่ซึ่งไม่ใช่ส่วนการรักษา และห่างไกลจากผู้ป่วยรายอื่นๆ
องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ FMS.7.2
Ο 1. องค์กรจัดทำนโยบาย และ/หรือ ระเบียบปฏิบัติเพื่อห้ามหรือจำกัดการสูบบุหรี่
Ο 2. นโยบาย และ/หรือ ระเบียบปฏิบัติ ประยุกต์ใช้กับผู้ป่วย ครอบครัว ผู้มาเยือน และบุคลากร
Ο 3. นโยบาย และ/หรือ ระเบียบปฏิบัติ ระบุการอนุญาตให้ผู้ป่วยที่ได้รับการยกเว้นตามนโยบาย และ/หรือระเบียบปฏิบัติ สามารถสูบบุหรี่ได้
FMS – การนำและการวางแผน | ความปลอดภัยและสวัสดิภาพ | วัตถุอันตราย | การเตรียมพร้อมรับอุบัติภัย | ความปลอดภัยด้านอัคคีภัย | เทคโนโลยีทางการแพทย์ | ระบบสาธารณูปโภค | การติดตามโปรแกรมบริหารจัดการอาคารสถานที่ | การให้ความรู้แก่บุคลากร