การจัดระบบและการจัดการ (Organization and Management)
มาตรฐาน MMU.1 (ทำให้ชัดเจน)
การใช้ยาในองค์กรเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง มีการจัดระบบตอบสนองภาวะความต้องการของผู้ป่วย และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลและคำแนะนำของเภสัชกรที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพหรือผู้ประกอบวิชาชีพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม
เจตนาของ MMU.1
ยาเป็นทรัพยากรที่สำคัญในการดูแลผู้ป่วย จะต้องมีการจัดระบบที่มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ | การจัดการด้านยาไม่ใช่ความรับผิดชอบของบริการเภสัชกรรมเท่านั้น แต่เป็นความรับผิดชอบของผู้บริหารและผู้ประกอบวิชาชีพด้านบริการสุขภาพด้วย | วิธีการแบ่งปันความรับผิดชอบขึ้นกับโครงสร้างและการจัดกำลังคนขององค์กร | ในองค์กรที่ไม่มีห้องยา ยาอาจได้รับการจัดการโดยแต่ละหน่วยดูแลทางคลินิกตามนโยบายขององค์กร | ในองค์กรที่มีห้องยากลางขนาดใหญ่ ห้องยาอาจจะจัดระบบและควบคุมยาทั่วทั้งองค์กร | การจัดการด้านยาที่มีประสิทธิผลครอบคลุมทุกส่วนขององค์กร ทั้งผู้ป่วยใน ผู้ป่วยนอก และหน่วยดูแลเฉพาะ | อย่างไรก็ตาม องค์กรจัดการด้านยาโดยผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมกำกับดูแลกิจกรรมในห้องยาบริการเภสัชกรรม | บุคคลนั้นได้รับการฝึกอบรม หรือถ้าจำเป็น จะต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพหรือใบรับรอง | มีการนำกฎหมายและระเบียบข้อบังคับเข้ามาในโครงสร้างองค์กรและการดำเนินงานระบบจัดการด้านยาที่ใช้ในองค์กร (ดูที่ GLD.9)
องค์กรทบทวนระบบอย่างน้อยปีละครั้งเพื่อสร้างความมั่นใจในประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการจัดการด้านยาและการใช้ยา | การทบทวนประจำปีนำสารสนเทศและประสบการณ์ทั้งหมดเกี่ยวกับการจัดการด้านยามาพิจารณา | สารสนเทศและประสบการณ์ดังกล่าวประกอบด้วยตัวอย่างต่อไปนี้:
- ระบบจัดการด้านยาทำงานได้ดีเพียงใดในด้าน
– การเลือกและจัดหายา
– การจัดเก็บ
– การสั่งใช้และถ่ายทอดคำสั่ง
– การเตรียมยาและจ่ายยา, และ
– การบริหารและเฝ้าติดตาม - การเฝ้าติดตามเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงบัญชียา เช่น การเพิ่มยา
- การเฝ้าติดตามความคลาดเคลื่อนทางยาและเหตุการณ์เกือบพลาด
- การศึกษาที่จำเป็น
- การพิจารณาวิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ตามหลักฐานวิชาการ
การทบทวนดังกล่าวทำให้องค์กรเข้าใจความต้องการและประเด็นที่สำคัญสำหรับการปรับปรุงระบบอย่างต่อเนื่องในเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยของการใช้ยา
องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ MMU.1
Ο 1. มีแผน หรือนโยบาย หรือเอกสารอื่น ระบุวิธีการจัดระบบและการจัดการยาทั่วทั้งองค์กร
Ο 2. Setting บริการ และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดการด้านยาทั้งหมด ได้รับการระบุรวมอยู่ในโครงสร้างองค์กร
Ο 3. เภสัชกรที่มีใบอนุญาตวิชาชีพหรือผู้ประกอบวิชาชีพที่มีคุณสมบัติกำกับดูแลกิจกรรมในห้องยาหรือบริการเภสัชกรรม
Ο 4. มีการทบทวนระบบการจัดการด้านยาอย่างน้อย 1 ครั้งในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
Ο 5. ห้องยาและบริการเภสัชกรรมและการใช้ยา เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
Ο 6. มีแหล่งเภสัชสารสนเทศที่เหมาะสม พร้อมใช้สำหรับบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยา
MMU – การจัดระบบและการจัดการ | การคัดเลือกและการจัดหายา | การเก็บรักษายา | การสั่งยาและถ่ายทอดคำสั่ง | การเตรียมยาและจัดจ่ายยา | การบริหารยา | การเฝ้าติดตามการใช้ยา