การเฝ้าติดตามการใช้ยา (Monitoring)
มาตรฐาน MMU.7
มีการเฝ้าติดตามผลของยาต่อผู้ป่วย ℗
เจตนาของ MMU.7
ผู้ป่วย แพทย์ พยาบาล และผู้ประกอบวิชาชีพด้านบริการสุขภาพอื่นๆ ทำงานร่วมกันเพื่อเฝ้าติดตามผู้ป่วยในเรื่องการใช้ยา | วัตถุประสงค์ของการเฝ้าติดตามคือประเมินผลของยาต่ออาการหรือความเจ็บป่วยของผู้ป่วย รวมถึงจำนวนเม็ดเลือด การทำหน้าที่ของไต การทำหน้าที่ของตับ และการติดตามอื่นๆ สำหรับยาบางตัว และเพื่อประเมินเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย | จากการเฝ้าติดตาม จะสามารถปรับขนาดหรือประเภทของยาได้เมื่อจำเป็น | เป็นเรื่องเหมาะสมที่จะเฝ้าติดตามการตอบสนองของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เมื่อมีการบริหารยาใหม่แก่ผู้ป่วยเป็นครั้งแรก | การเฝ้าติดตามดังกล่าวมีเป้าหมายที่จะระบุการตอบสนองทางเภสัชวิทยาที่คาดหวัง รวมถึงการแพ้ยา ปฏิกิริยาระหว่างยาที่ไม่คาดคิด การเปลี่ยนแปลงการทรงตัวของผู้ป่วยซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการหกล้ม ฯลฯ
การเฝ้าติดตามผลของการใช้ยาหมายความรวมถึงการสังเกตและการบันทึกผลที่ไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้น | องค์กรมีนโยบายที่จะบ่งชี้ผลที่ไม่พึงประสงค์ซึ่งต้องมีการบันทึกและที่ต้องมีการรายงาน | องค์กรจัดให้มีกลไกเพื่อการรายงานเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์เมื่อเกิดเหตุและกำหนดเวลาที่จะต้องรายงาน
องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ MMU.7
Ο 1. มีการเฝ้าติดตามผลของยาต่อผู้ป่วย (ดูที่ AOP.2)
Ο 2. มีการเฝ้าติดตามผลของยาที่ไม่พึงประสงค์ต่อผู้ป่วยและบันทึกไว้
Ο 3. องค์กรมีนโยบายระบุผลที่ไม่พึงประสงค์ซึ่งต้องบันทึกในเวชระเบียนผู้ป่วย และที่ต้องรายงานต่อองค์กร (ดูที่ QPS.8)
Ο 4. มีการบันทึกผลที่ไม่พึงประสงค์ไว้ในเวชระเบียนผู้ป่วยตามที่กำหนดในนโยบาย
Ο 5. มีการรายงานผลที่ไม่พึงประสงค์ตามกำหนดเวลา
มาตรฐาน MMU.7.1
มีการรายงานความคลาดเคลื่อนทางยา รวมทั้งเหตุเกือบพลาด ตามกระบวนการและช่วงเวลาที่องค์กรกำหนด ℗
เจตนาของ MMU.7.1
องค์กรมีกระบวนการที่จะบ่งชี้และรายงานความคลาดเคลื่อนทางยา (medication error) และเหตุเกือบพลาด (near miss) | กระบวนการดังกล่าวประกอบด้วย การกำหนดความคลาดเคลื่อนทางยาและเหตุเกือบพลาด การใช้แบบฟอร์มมาตรฐานในการรายงาน และการให้ความรู้แก่บุคลากรเกี่ยวกับกระบวนการและความสำคัญของการรายงาน | คำจำกัดความและกระบวนการดังกล่าวจัดทำโดยกระบวนการที่นำผู้เกี่ยวข้องในขั้นตอนต่างๆ ของการจัดการเกี่ยวกับยามาร่วมมือกัน | กระบวนการรายงานเป็นส่วนหนึ่งในแผนงานคุณภาพและความปลอดภัยขององค์กร | รายงานจะถูกส่งไปยังบุคคลหนึ่งหรือมากกว่าที่มีความรับผิดชอบในการดำเนินการ | แผนงานมุ่งเน้นการป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาด้วยการทำความเข้าใจชนิดของความคลาดเคลื่อนซึ่งเกิดขึ้นทั้งในองค์กรเองและในองค์กรอื่นๆ และสาเหตุที่เกิดเหตุเกือบพลาดขึ้น | มีการใช้การปรับปรุงกระบวนการเกี่ยวกับยาและการฝึกอบรมเพื่อป้องกันความคลาดเคลื่อนในอนาคต | ห้องยามีส่วนร่วมในการฝึกอบรมบุคลากรดังกล่าว (ดูที่ QPS.8 และ QPS.9)
องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ MMU.7.1
Ο 1. มีการกำหนดคำจำกัดความ ความคลาดเคลื่อนทางยาและเหตุเกือบพลาด
Ο 2. มีการรายงานความคลาดเคลื่อนทางยาและเหตุเกือบพลาดในเวลาที่กำหนดโดยใช้กระบวนการที่กำหนดไว้
Ο 3. มีการกำหนดผู้ที่มีภาระรับผิดชอบในการดำเนินการเมื่อได้รับรายงาน
Ο 4. องค์กรใช้ข้อมูลรายงานความคลาดเคลื่อนทางยาและเหตุเกือบพลาด เพื่อพัฒนากระบวนการใช้ยา
MMU – การจัดระบบและการจัดการ | การคัดเลือกและการจัดหายา | การเก็บรักษายา | การสั่งยาและถ่ายทอดคำสั่ง | การเตรียมยาและจัดจ่ายยา | การบริหารยา | การเฝ้าติดตามการใช้ยา