มาตรฐาน AOP.1
ผู้ป่วยทุกรายที่องค์กรให้การดูแล ได้รับการประเมินความต้องการบริการสุขภาพโดยใช้กระบวนการประเมินที่กำหนดไว้ ℗
เจตนาของ AOP.1
กระบวนการประเมินผู้ป่วยที่มีประสิทธิผล ก่อให้เกิดการตัดสินใจเกี่ยวกับการรักษาที่จำเป็นในระยะแรกและที่จะเกิดตามมา สำหรับการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน การดูแลผู้ป่วยที่นัดหรือวางแผนไว้แล้ว หรือแม้เมื่อสภาวะของผู้ป่วยเปลี่ยนแปลงไป | การประเมินผู้ป่วยเป็นกระบวนการที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องมีการเคลื่อนไหว ซึ่งเกิดขึ้นในลักษณะแวดล้อม (setting) แผนก และคลินิกที่ให้การดูแลผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกต่างๆ | การประเมินผู้ป่วยประกอบด้วยกระบวนการหลักสามประการ ได้แก่:
- การรวบรวมสารสนเทศและข้อมูลเกี่ยวกับสภาวะทางร่างกาย จิตใจ สังคม และประวัติสุขภาพของผู้ป่วย
- การวิเคราะห์ข้อมูลและสารสนเทศ รวมถึงผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการและภาพวินิจฉัย เพื่อระบุความต้องการบริการสุขภาพของผู้ป่วย
- การจัดทำแผนการดูแลเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยที่ระบุไว้
เมื่อผู้ป่วยได้รับการลงทะเบียนหรือรับไว้ในองค์กรสำหรับการดูแลรักษาแบบผู้ป่วยในหรือผู้ป่วยนอก จะต้องมีการประเมินผู้ป่วยอย่างสมบูรณ์เพื่อให้ทราบเหตุผลของการมารับบริการ | สารสนเทศเฉพาะที่องค์กรต้องการในขั้นตอนนี้ และวิธีการที่จะได้มาซึ่งสารสนเทศดังกล่าว ขึ้นกับความต้องการของผู้ป่วย และลักษณะแวดล้อม (setting) ชองการดูแลที่จะจัดให้ผู้ป่วย (เช่น การดูแลแบบผู้ป่วยในหรือผู้ป่วยนอก) | นโยบายและระเบียบปฏิบัติขององค์กรกำหนดวิธีการทำงานของกระบวนการนี้ รวมทั้งสารสนเทศที่ต้องรวบรวมและบันทึก (ดูที่ ACC.1)
องค์กรกำหนดเนื้อหาสาระขั้นตํ่าของการประเมินที่จะทำโดยแพทย์ พยาบาล และผู้ปฏิบัติงานทางคลินิกในสาขาอื่นๆ ไว้ในนโยบาย เพื่อให้ประเมินความต้องการของผู้ป่วยอย่างสอดคล้องกัน | การประเมินทำโดยแต่ละวิชาชีพตามขอบเขตของการปฏิบัติ ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ กฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง หรือใบรับรอง | เฉพาะผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเท่านั้นที่ทำการประเมิน | แบบบันทึกต่างๆ ที่ใช้ในการประเมินเป็นไปตามนโยบายนี้ | องค์กรกำหนดกิจกรรมการประเมินสำหรับ ลักษณะแวดล้อม (setting) ของการดูแลผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกที่ให้การดูแล (ดูที่ ASC.3.2, ME 1 และ ASC.4, ME 1) | องค์กรกำหนดองค์ประกอบร่วมที่ต้องมีในการประเมินทุกประเภท และกำหนดรายละเอียดที่อาจอนุญาตให้แตกต่างก้นได้ระหว่างขอบเขตของการประเมิน สำหรับเวชกรรมทั่วไป กับการประเมินสำหรับบริการเฉพาะทาง | การประเมินที่กำหนดไว้ในนโยบายอาจจะทำโดยผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมมากกว่า หนึ่งคน และอาจจะทำในช่วงเวลาที่แตกต่างกันได้ | รายละเอียดของการประเมินทั้งหมดจะต้องมีพร้อมเมื่อเริ่มต้นให้การรักษา (ดู AOP.1.2 และ AOP.1.2.1)
องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ AOP.1
Ο 1. มีการกำหนดเนื้อหาสาระขั้นตํ่าของการประเมินผู้ป่วยในสำหรับแต่ละสาขาทาง คลินิกซึ่งทำการประเมิน และระบุองค์ประกอบที่จำเป็นของการซักประวัติและตรวจร่างกาย
Ο 2. มีการกำหนดเนื้อหาสาระขั้นตํ่าของการประเมินผู้ป่วยนอกสำหรับแต่ละสาขาทางคลินิกซึ่งทำการประเมิน และระบุองค์ประกอบที่จำเป็นของการซักประวัติและตรวจร่างกาย
Ο 3. เฉพาะผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ โดยกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง หรือโดยใบรับรอง เท่านั้นที่ทำการประเมิน
Ο 4. องค์กรกำหนดสารสนเทศและบันทึกการประเมินไว้
มาตรฐาน AOP.1.1
การประเมินเมื่อแรกรับสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย ประกอบด้วยการประเมินปัจจัยทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และเศรษฐกิจ รวมถึงการตรวจร่างกายและประวัติสุขภาพ ℗
เจตนาของ AOP.1.1
การประเมินผู้ป่วยเมื่อแรกรับ ทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน เป็นจุดสำคัญในการค้นหาความต้องการของผู้ป่วย และการเริ่มต้นกระบวนการดูแลผู้ป่วย | การประเมินเมื่อแรกรับจะให้สารสนเทศเพื่อ
– ทำความเข้าใจการดูแลที่ผู้ป่วยต้องการ
– เลือกลักษณะแวดล้อม (setting) การดูแลที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วย
– ให้การวินิจฉัยโรคเบื้องต้น และ
– เข้าใจการตอบสนองของผู้ป่วยต่อการดูแลที่ผ่านมา
เพื่อให้มีสารสนเทศเหล่านี้ การประเมินเมื่อแรกรับประกอบด้วยการประเมินสภาวะเกี่ยวกับการเจ็บป่วยด้วย การตรวจร่างกายและซักประวัติสุขภาพ | การประเมินทางด้านจิตใจช่วยให้ทราบถึงสภาวะด้านอารมณ์ของผู้ป่วย (เช่น อาการซึมเศร้า หวาดกลัว หรือก้าวร้าว และอาจจะทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น) | การรวบรวมสารสนเทศทางสังคมของผู้ป่วยไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อการ “แบ่งชนชั้น” ผู้ป่วย | แต่เนื้อหาทางสังคม วัฒนธรรม ครอบครัว และเศรษฐกิจของผู้ป่วย เป็นปัจจัยสำคัญที่จะมีผลต่อการตอบสนองต่อการเจ็บป่วยและการรักษา | ครอบครัวสามารถช่วยในการประเมินส่วนนี้ได้มาก และช่วยทำให้เกิดความเข้าใจความปรารถนาและความพึงใจของผู้ป่วยในกระบวนการประเมิน | การประเมินปัจจัยทางเศรษฐกิจ อาจประเมินเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินทางสังคม หรือแยกประเมินเฉพาะหากผู้ป่วยและครอบครัวต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดูแล รักษาทั้งหมดหรือบางส่วนในขณะที่รักษาตัวแบบผู้ป่วยในหรือหลังจำหน่าย | ผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมต่างสาขาหลายคนอาจมีส่วนร่วมในการประเมินผู้ป่วยรายเดียวกัน | ปัจจัยสำคัญที่สุดคือการประเมินที่สมบูรณ์และพร้อมใช้ประโยชน์ (ดูที่ ACC.3, ME 2) สำหรับทีมที่ให้การดูแลผู้ป่วย
การประเมินผู้ป่วยมีความเหมาะสมเมื่อมีการพิจารณา สภาวะของผู้ป่วย อายุ ความต้องการด้านสุขภาพ และคำขอหรือความพึงใจของผู้ป่วย | กระบวนการเหล่านี้จะมีประสิทธิผลสูงสุดถ้าผู้ประกอบวิชาชีพสุขภาพสาขาต่างๆ ที่รับผิดชอบดูแลผู้ป่วยทำงานร่วมกัน (ดูที่ COP.8.4, COP.8.7, COP.9.2 และ MOI.10, ME 2)
องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ AOP.1.1
Ο 1. ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกทุกรายได้รับการประเมินเมื่อแรกรับ ประกอบด้วยการซักประวัติสุขภาพและการตรวจร่างกาย สอดคล้องกับข้อกำหนดในนโยบายของโรงพยาบาล
Ο 2. ผู้ป่วยแต่ละรายได้รับการประเมินทางด้านจิตใจเมื่อแรกรับ ตามสภาวะต้องการของผู้ป่วย
Ο 3. ผู้ป่วยแต่ละรายรับการประเมินทางด้านเศรษฐกิจและสังคมเมื่อแรกรับ ตามสภาวะความต้องการของผู้ป่วย
Ο 4. การประเมินเมื่อแรกรับนำมาสู่การวินิจฉัยเบื้องต้น
มาตรฐาน AOP.1.2
มีการระบุความต้องการในการดูแลด้านการแพทย์และด้านการพยาบาลจากการประเมิน เมื่อแรกรับ และบันทึกไว้ในเวชระเบียนและดำเนินการเสร็จสมบูรณ์ภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากรับไว้เป็นผู้ป่วยใน หรือเร็วกว่านั้นตามสภาวะของผู้ป่วย ℗
มาตรฐาน AOP.1.2.1
การประเมินด้านการแพทย์และการพยาบาลเมื่อแรกรับสำหรับผู้ป่วยฉุกเฉินขึ้นกับความต้องการและสภาวะของผู้ป่วย
เจตนาของ AOP.1.2 และ AOP.1.2.1
ผลลัพธ์สำคัญจากการประเมินผู้ป่วยเมื่อแรกรับ คือความเข้าใจความต้องการการดูแลด้านการแพทย์และการพยาบาลของผู้ป่วย เพื่อสามารถเริ่มต้นให้การดูแลรักษา | เพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ องค์กรกำหนดเนื้อหาสาระขั้นตํ่าของการประเมินด้านการแพทย์และการพยาบาลและ การประเมินอื่นๆ เมื่อแรกรับ (ดูที่ AOP.1) กำหนดเวลาที่ต้องประเมินให้เสร็จสมบูรณ์ และข้อกำหนดในการบันทึกผลการประเมิน (ดูที่ AOP.1.3) | แม้ว่าการประเมินด้านการแพทย์และการพยาบาลมีความสำคัญต่อการเริ่มต้นดูแล อาจมีการประเมินเพิ่มเติมโดยผู้ประกอบวิชาชีพด้านบริการสุขภาพอื่นๆ รวมถึงการประเมินพิเศษ (ดู AOP.1.4 และ AOP.1.5) และการประเมินที่เจาะจงสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย (ดูที่ AOP.1.6) | การประเมินเหล่านี้จะต้องได้รับการบูรณาการเข้าด้วยกัน และระบุการดูแลที่จำเป็นเร่งด่วนที่สุด (ดูที่ AOP.4)
การประเมินด้านการแพทย์และการพยาบาลเมื่อแรกรับดำเนินการเสร็จสมบูรณ์ภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากรับไว้เป็นผู้ป่วยใน และพร้อมให้ผู้ให้การดูแลผู้ป่วยทุกคนใช้ประโยชน์ได้ | ถ้าสภาวะของผู้ป่วยบ่งชี้ อาจจะต้องทำการประเมินด้านการแพทย์ และ/หรือ การพยาบาล และจัดให้มีข้อมูลการประเมินพร้อมในเวลาเร็วกว่านั้น | ดังนั้น ผู้ป่วยฉุกเฉินจะต้องได้รับการประเมินโดยทันที และอาจมีนโยบายกำหนดกลุ่มผู้ป่วยอื่นๆ ที่จะต้องได้รับการประเมินเร็วกว่า 24 ชั่วโมง
การประเมินด้านการแพทย์และทางการพยาบาลเมื่อแรกรับในภาวะฉุกเฉิน อาจจำกัดอยู่ที่ความต้องการและสภาวะของผู้ป่วยที่ปรากฏ | ในกรณีที่ไม่มีเวลาบันทึกประวัติและการตรวจร่างกายที่สมบูรณ์ในผู้ป่วยฉุก เฉินที่ต้องการการผ่าตัดด่วน อาจจะมีเพียงการบันทึกข้อมูลย่อๆ และการวินิจฉัยโรคก่อนผ่าตัดไว้ก่อนที่จะทำการผ่าตัด (ดูที่ MOI.10.1, ME 3)
องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ AOP.1.2
Ο 1. การประเมินด้านการแพทย์เมื่อแรกรับ รวมถึงประวัติสุขภาพ การตรวจร่างกาย และการประเมินอื่นๆ ตามภาวะความต้องการของผู้ป่วย ได้กระทำภายใน 24 ชั่วโมงแรกของการรับไว้เป็นผู้ป่วยใน หรือเร็วกว่านั้นตามที่บ่งชี้โดยสภาวะของผู้ป่วยหรือนโยบายของโรงพยาบาล และมีการบันทึกไว้
Ο 2. การประเมินด้านการแพทย์เมื่อแรกรับทำให้มีรายการการวินิจฉัยทางการแพทย์ที่เฉพาะเจาะจงในสภาวะหลักและเกี่ยวข้องที่ต้องทำการรักษาและติดตาม
Ο 3. การประเมินด้านการพยาบาลเมื่อแรกรับกระทำภายใน 24 ชั่วโมงแรกของการรับไว้เป็นผู้ป่วยใน หรือเร็วกว่านั้นตามที่บ่งชี้โดยสภาวะของผู้ป่วยหรือนโยบายของโรงพยาบาล
Ο 4. การประเมินด้านการพยาบาลเมื่อแรกรับทำให้มีรายการความต้องการรักษาพยาบาลที่ เฉพาะเจาะจง หรือสภาวะที่ต้องการการดูแลทางด้านพยาบาล การบำบัด หรือการติดตาม
องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ AOP.1.2.1
Ο 1. การประเมินด้านการแพทย์สำหรับผู้ป่วยฉุกเฉิน ขึ้นกับความต้องการและสภาวะของผู้ป่วย
Ο 2. การประเมินด้านการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยฉุกเฉิน ขึ้นกับความต้องการและสภาวะของผู้ป่วย
Ο 3. ถ้ามีการทำผ่าตัด มีบันทึกข้อมูลย่อๆ และการวินิจฉัยโรคก่อนผ่าตัดเป็นอย่างน้อยก่อนที่จะทำการผ่าตัดผู้ป่วยฉุก เฉิน (ดูที่ ASC.7)
มาตรฐาน AOP.1.3
องค์กรมีกระบวนการในการรับการประเมินด้านการแพทย์เบื้องต้นที่กระทำในสำนักงานแพทย์ส่วนตัวหรือ แผนกผู้ป่วยนอกอื่น ก่อนที่จะรับเป็นผู้ป่วยในหรือก่อนที่จะทำหัตถการแบบผู้ป่วยนอก
เจตนาของ AOP.1.3
การประเมินด้านการแพทย์เบื้องต้นที่กระทำในสำนักงานแพทย์ส่วนตัวหรือแผนกผู้ป่วยนอกอื่น ก่อนการดูแลในองค์กรในฐานะผู้ป่วยใน จะต้องทำภายใน 30 วันที่ผ่านมา | ถ้าการประเมินด้านการแพทย์นั้นกระทำนานเกินกว่า 30 วันก่อนที่จะรับไว้เป็นผู้ป่วยใน จะต้องปรับปรุงประวัติทางการแพทย์ใหม่ และตรวจร่างกายซํ้า | สำหรับการประเมินด้านการแพทย์ที่กระทำภายใน 30 วันก่อนที่จะรับเป็นผู้ป่วยใน การเปลี่ยนแปลงสภาวะผู้ป่วยที่สำคัญใดๆ หลังจากการประเมินครั้งนั้นได้รับการบันทึกเมื่อรับเป็นผู้ป่วยใน | การปรับปรุงข้อมูล และ/หรือ การตรวจร่างกายซํ้า สามารถกระทำโดยผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมท่านใดก็ได้ (ดูที่ AOP.1.2 และ AOP.1.2.1 ขึ้นอยู่กับระยะเวลาและความต้องการเอกสารสำหรับการประเมินแรกรับในองค์กร)
ถ้ามีการประเมินมาจากภายนอกองค์กร อาจจะเป็นบางส่วนหรือทั้งหมด (เช่น จากคลินิกศัลยแพทย์ที่ปรึกษา) ผลการประเมินดังกล่าวได้รับการทบทวน และ/หรือตรวจสอบความถูกต้องเมื่อเวลาที่รับไว้เป็นผู้ป่วยใน โดยพิจารณาให้เหมาะสมกับระยะเวลาระหว่างการประเมินจากภายนอกนั้นกับเวลาที่ รับไว้ ธรรมชาติความวิกฤติของสิ่งที่ตรวจพบ ความซับซ้อนของผู้ป่วย การดูแลรักษาที่วางแผนไว้ (เช่น การทบทวนยืนยันความชัดเจนของการวินิจฉัยโรคและหัตถการหรือการรักษาที่วางแผนไว้ การมีภาพรังสีที่ต้องการในการผ่าตัด การเปลี่ยนแปลงสภาวะของผู้ป่วย เช่น การควบคุมระดับนํ้าตาล และการระบุการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการสำคัญที่จำเป็นต้องตรวจซํ้า) (ดูที่ AOP.4)
องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ AOP.1.3
Ο 1. การประเมินด้านการแพทย์เบื้องต้นซึ่งกระทำก่อนที่จะรับไว้เป็นผู้ป่วยใน หรือก่อนที่จะทำหัตถการแบบผู้ป่วยนอกในองค์กร จะต้องไม่นานเกินกว่า 30 วัน
Ο 2. สำหรับการประเมินด้านการแพทย์ที่กระทำภายใน 30 วัน การเปลี่ยนแปลงสภาวะผู้ป่วยที่สำคัญใดๆ หลังจากการประเมินครั้งนั้นได้รับการบันทึกไว้ในเวชระเบียนผู้ป่วยเมื่อรับเป็นผู้ป่วยใน หรือก่อนที่จะทำหัตถการแบบผู้ป่วยนอก
Ο 3. ถ้าการประเมินด้านการแพทย์นั้นกระทำนานเกินกว่า 30 วันก่อนที่จะรับไว้เป็นผู้ป่วยใน จะต้องปรับปรุงประวัติทางการแพทย์ใหม่ และตรวจร่างกายซํ้า
Ο 4. สิ่งที่พบทั้งหมดจากการประเมินที่กระทำนอกองค์กร ได้รับการทบทวน และ/หรือ ตรวจสอบความถูกต้องเมื่อเวลาที่รับไว้เป็นผู้ป่วยใน
มาตรฐาน AOP.1.3.1
การประเมินด้านการแพทย์เมื่อแรกรับได้รับการบันทึกไว้ก่อนที่จะให้การระงับความรู้สึกหรือผ่าตัดรักษา และรวมถึงความต้องการทางการแพทย์ ร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ/วัฒนธรรม
เจตนาของ AOP.1.3.1
การประเมินก่อนการผ่าตัดคือการประเมินความเสี่ยงทางคลินิกที่ประเมินสุขภาพของผู้ป่วยเพื่อตรวจสอบว่า ผู้ป่วยที่มีความปลอดภัยที่จะได้รับการดมยาสลบและการผ่าตัด
การประเมินก่อนการผ่าตัดรวมถึงความต้องการทางการแพทย์ ร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ/วัฒนธรรมก่อนทำการผ่าตัด นอกจากนี้การประเมินผู้ป่วยสำหรับความต้องการการดูแลหลังจากจำหน่ายเป็นองค์ประกอบที่มีคุณค่าของการประเมินก่อนการผ่าตัด (ดูที่ ASC.7)
ผลการประเมินด้านการแพทย์และการตรวจวิเคราะห์เพื่อการวินิจฉัยโรคใดๆ พร้อมกับความต้องการการดูแลหลังจากจำหน่าย ได้รับการบันทึกไว้ในเวชระเบียน ก่อนที่จะให้การระงับความรู้สึกหรือทำการผ่าตัด
องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ AOP.1.3.1
Ο 1. ผู้ป่วยซึ่งมีการวางแผนผ่าตัดได้รับการประเมินด้านการแพทย์ก่อนที่จะทำการผ่าตัด
Ο 2. การประเมินก่อนการผ่าตัดรวมถึงความต้องการทางการแพทย์ ร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ/วัฒนธรรม และความต้องการจำหน่าย
Ο 3. การประเมินด้านการแพทย์สำหรับผู้ป่วยศัลยกรรมได้รับการบันทึกไว้ในเวชระเบียนผู้ป่วยก่อนที่จะทำการผ่าตัด
มาตรฐาน AOP.1.4
ผู้ป่วยได้รับการคัดกรองภาวะโภชนาการและความต้องการความช่วยเหลือการปฏิบัติ กิจวัตร (functional needs) และได้รับการส่งต่อเพื่อประเมินและรักษาต่อเมื่อจำเป็น
เจตนาของ AOP.1.4
สารสนเทศที่รวบรวมได้จากการประเมินด้านการแพทย์ และ/หรือ การพยาบาล เมื่อแรกรับ โดยใช้เกณฑ์การคัดกรอง อาจบ่งชี้ความจำเป็นในการประเมินภาวะโภชนาการหรือ functional status เพิ่มเติมหรือการประเมินเชิงลึกมากขึ้น รวมทั้งการประเมินความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม (ดูที่ ISPG.6) | การประเมินเชิงลึกอาจจะมีความจำเป็นเพื่อบ่งชี้ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับ โภชนบำบัด และผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับบริการฟื้นฟูสภาพหรือบริการอื่นๆ เกี่ยวกับความสามารถในการทำหน้าที่อย่างอิสระหรือด้วยศักยภาพสูงสุด
วิธีการที่มีประสิทธิผลที่สุดในการบ่งชี้ผู้ป่วยที่มีความต้องการด้านโภชนาการ หรือความต้องการความช่วยเหลือการปฏิบัติกิจวัตร (functional needs) คือการใช้เกณฑ์คัดกรอง | โดยทั่วไปการคัดกรองทำได้ง่าย การประเมินผลระดับสูงของผู้ป่วยเพื่อตรวจสอบว่าผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่อาจจะ บ่งชี้ถึงความจำเป็นในการประเมินผลเพิ่มเติมในเชิงลึก | ตัวอย่างเช่น แบบฟอร์มการประเมินเมื่อแรกรับของพยาบาลอาจระบุเกณฑ์ดังกล่าวไว้ สำหรับการคัดกรองทางโภชนาการ เช่น คำถาม 5-6 คำถาม ที่มีคะแนนเป็นตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับการลดอาหารที่ผ่านมา การสูญเสียน้ำหนักในช่วงสามเดือนที่ผ่านมา การเคลื่อนไหว และอื่นๆ ที่คล้ายกัน | คะแนนรวมของผู้ป่วยสามารถระบุความเสี่ยงด้านโภชนาการของผู้ป่วยที่ต้องการ การประเมินด้านโภชนาการในเชิงลึก
ในแต่ละกรณี เกณฑ์คัดกรองจะได้รับการจัดทำโดยผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมซึ่งสามารถประเมินต่อ และให้การรักษาที่ต้องการแก่ผู้ป่วยเมื่อจำเป็น | ตัวอย่างเช่น เกณฑ์คัดกรองความเสี่ยงทางโภชนาการอาจจะได้รับการจัดทำโดยพยาบาลซึ่งจะประยุกต์ใช้เกณฑ์ ร่วมกับนักกำหนดอาหารซึ่งจะให้ข้อแนะนำด้านโภชนบำบัด และโภชนากรที่สามารถรวมความต้องการด้านโภชนาการกับความต้องการด้านอื่นๆ ของผู้ป่วยเข้าด้วยกัน (ดูที่ COP.4 และ COP.5)
สารสนเทศที่รวบรวมได้จาก การประเมินด้านการแพทย์ และ/หรือ การพยาบาล เมื่อแรกรับ อาจบ่งชี้ความจำเป็นในการประเมินอื่น เช่น ทันตกรรม การได้ยิน สายตา และอื่นๆ (ดูที่ AOP.1.2 และ AOP.1.2.1) | องค์กรส่งต่อผู้ป่วยเพื่อประเมินขั้นต่อไปภายในองค์กร หรือไปยังหน่วยงานอื่นหลังจำหน่าย
องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ AOP.1.4
Ο 1. ผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมจัดทำเกณฑ์เพื่อบ่งชี้ผู้ป่วยที่สมควรได้รับการประเมินด้านโภชนาการเพิ่มเติม
Ο 2. ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อปัญหาโภชนาการตามเกณฑ์คัดกรองได้รับการประเมินด้านโภชนาการ
Ο 3. ผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมจัดทำเกณฑ์เพื่อบ่งชี้ผู้ป่วยที่สมควรได้รับการประเมินความต้องการความช่วยเหลือการปฏิบัติกิจวัตร (functional needs) เพิ่มเติม
Ο 4. ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการประเมิน functional needs ตามเกณฑ์คัดกรอง ได้รับการส่งต่อไปรับการประเมินดังกล่าว
Ο 5. มีการระบุไว้เมื่อจำเป็นต้องมีการประเมินเป็นพิเศษเพิ่มเติม ผู้ป่วยได้รับการส่งต่อไปยังภายในหรือภายนอกองค์กร
Ο 6. การประเมินเป็นพิเศษที่ทำภายในองค์กรได้ทำเสร็จสิ้นและบันทึกไว้ในเวชระเบียนผู้ป่วย
มาตรฐาน AOP.1.5
ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกทุกราย ได้รับการคัดกรองความเจ็บปวด และประเมินความเจ็บปวดเมื่อคัดกรองพบ
เจตนาของ AOP.1.5
ในระหว่างการประเมินเมื่อแรกรับและระหว่างการประเมินซํ้าใดๆ มีการคัดกรองเพื่อบ่งชี้ผู้ป่วยที่มีความเจ็บปวด | ตัวอย่าง คำถามที่ใช้ในการทดสอบการคัดกรองผู้ป่วยมีดังนี้:
- ตอนนี้มีอาการเจ็บปวดหรือไม่
- อาการเจ็บปวดทำให้นอนไม่ได้ตอนกลางคืนหรือไม่
- อาการเจ็บปวดทำให้เข้าร่วมกิจกรรมบางอย่างไม่ได้หรือไม่
- มีอาการปวดทุกวันหรือไม่
คำตอบในเชิงบวกกับคำถาม ระบุความจำเป็นในการประเมินเชิงลึกที่มากขึ้นของความเจ็บปวดของผู้ป่วย | เมื่อพบว่ามีความเจ็บปวด ผู้ป่วยอาจได้รับการรักษาในองค์กรหรือส่งต่อไปรักษาที่อื่น | ขอบเขตของการรักษาขึ้นกับ care ลักษณะแวดล้อม (setting) และบริการที่จัดให้ (ดูที่ COP.6)
มีการประเมินที่ครอบคลุมมากขึ้นถ้าผู้ป่วยได้รับการ รักษาในองค์กร | การประเมินดังกล่าวเหมาะสมกับอายุของผู้ป่วย มีการวัดระดับและระบุรายละเอียดเกี่ยวกับความเจ็บปวด เช่น ลักษณะ ความถี่ ตำแหน่ง และระยะเวลาของความเจ็บปวด | ข้อมูลเพิ่มเติมอาจรวมประวัติความเจ็บปวด สิ่งที่ทำให้อาการเจ็บปวดดีขึ้นหรือแย่ลง สิ่งที่เป็นเป้าหมายในการลดความเจ็บปวดและอื่นๆ ที่คล้ายกัน | มีการบันทึกผลการประเมินในลักษณะที่เอื้อต่อการประเมินซํ้าอย่างสมํ่าเสมอ และการติดตาม ตามเกณฑ์ที่จัดทำโดยองค์กรและตามภาวะความต้องการของผู้ป่วย (ดูที่ AOP.1.2 และ AOP.1.2.1)
องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ AOP.1.5
Ο 1. ผู้ป่วยได้รับการคัดกรองความเจ็บปวด
Ο 2. เมื่อพบว่ามีความเจ็บปวดจากการตรวจคัดกรองเบื้องต้น องค์กรทำการประเมินอย่างครอบคลุม
Ο 3. มีการบันทึกผลการประเมินในลักษณะที่เอื้อต่อการประเมินซํ้าอย่างสมํ่าเสมอ และการติดตาม ตามเกณฑ์ที่จัดทำโดยองค์กรและตามภาวะความต้องการของผู้ป่วย
มาตรฐาน AOP.1.6
องค์กรจัดให้มีการประเมินเมื่อแรกรับที่ปรับให้เหมาะสมเฉพาะราย สำหรับกลุ่มประชากรพิเศษที่องค์กรให้การดูแล
เจตนาของ AOP.1.6
การประเมินเมื่อแรกรับสำหรับผู้ป่วยบางประเภทหรือกลุ่มประชากรผู้ป่วยบางประเภท จำต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการประเมิน | การปรับเปลี่ยนดังกล่าวขึ้นกับลักษณะเฉพาะหริอภาวะความต้องการของประชากรผู้ป่วยแต่ละกลุ่ม | แต่ละองค์กรระบุกลุ่มผู้ป่วยและกลุ่มประชากรผู้ป่วยเฉพาะดังกล่าว และปรับกระบวนการประเมินเพื่อตอบสนองภาวะความต้องการพิเศษของผู้ป่วยเหล่านั้น | โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อองค์กรให้การดูแลผู้ป่วยหรือกลุ่มประชากรที่มีความต้องการพิเศษตามรายการข้างล่างนี้ องค์กรทำการประเมินผู้ป่วยด้วยกระบวนการที่ปรับเป็นการเฉพาะ:
– เด็ก
– วัยรุ่น
– ผู้ป่วยสูงอายุที่เปราะบาง
– ผู้ป่วยระยะสุดท้าย
– ผู้ป่วยที่มีความเจ็บปวดรุนแรงหรือเรื้อรัง
– หญิงเจ็บครรภ์
– หญิงที่ได้รับการยุติการตั้งครรภ์
– ผู้ป่วยที่มีปัญหาความผิดปกติทางอารมณ์หรือจิตใจ
– ผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะติดยาและ/หรือสุรา
– เหยื่อที่ถูกกระทำทารุณหรือถูกทอดทิ้ง
– ผู้ป่วยที่มีโรคติดเชื้อหรือโรคติดต่อ
– ผู้ป่วยที่ได้รับเคมีบำบัดหรือรังสีรักษา
– ผู้ป่วยซึ่งมีภูมิคุ้มกันพร่อง
การประเมินผู้ป่วยที่สงสัยว่าติดยา และ/หรือ สุรา และการประเมินเหยื่อที่ถูกกระทำทารุณหรือถูกทอดทิ้งจะต้องคำนึงถึงวัฒนธรรมของกลุ่มประชากรผู้ป่วยด้วย | การประเมินเหล่านี้มิได้มีจุดมุ่งหมายที่จะให้เป็นกระบวนการค้นหาผู้ป่วยใน เชิงรุก | แต่เป็นการประเมินเพื่อตอบสนองต่อความต้องการและสภาวะของผู้ป่วยในลักษณะที่เป็นที่ยอมรับทางวัฒนธรรมและเป็นความลับ | กระบวนการประเมินจะต้องดัดแปลงให้สอดคล้องกับกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของท้องถิ่น และมาตรฐานวิชาชีพ ซึ่งเกี่ยวข้องกับกลุ่มประชากรและสถานการณ์ดังกล่าว รวมถึงการนำครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมเมื่อมีความเหมาะสมหรือมีความจำเป็น (ดูที่ AOP.1.2 และ AOP.1.2.1)
องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ AOP.1.6
Ο 1. องค์กรกำหนดเกณฑ์บ่งชี้เป็นลายลักษณ์อักษรสำหรับกลุ่มผู้ป่วยและประชากรพิเศษที่จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนการประเมิน
Ο 2. กระบวนการประเมินสำหรับกลุ่มประชากรผู้ป่วยที่มีความต้องการพิเศษได้รับการปรับให้เหมาะสมกับภาวะความต้องการของกลุ่มผู้ป่วยดังกล่าว
Ο 3. กระบวนการปรับเปลี่ยนการประเมินมีความสอดคล้องกับกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ และปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับประชากรดังกล่าว
มาตรฐาน AOP.1.7
ผู้ป่วยที่กำลังจะสิ้นชีวิตและครอบครัวของผู้ป่วยได้รับการประเมินและประเมินซํ้า ตามความต้องการของแต่ละคน
เจตนาของ AOP.1.7
การประเมินและการประเมินซํ้าในผู้ป่วยระยะสุดท้าย จำเป็นต้องปรับให้ตอบสนองต่อภาวะความต้องการของผู้ป่วยแต่ละรายและครอบครัว | การประเมินและการประเมินซํ้าควรประเมินตามที่บ่งชี้โดยสภาวะของผู้ป่วย
a) อาการคลื่นไส้และอาการหายใจลำบาก
b) ปัจจัยที่ทำให้อาการทางร่างกายทุเลาหรือกำเริบ
c) การบำบัดอาการในขณะนั้นและการตอบสนองของผู้ป่วย
d) ความเชื่อด้านจิตวิญญาณของผู้ป่วยและครอบครัว และการเข้าร่วมกลุ่มทางศาสนา
e) ความอาทรหรือความต้องการด้านจิตวิญญาณของผู้ป่วยและครอบครัว เช่น ความสิ้นหวัง ความทุกข์ทรมาน ตราบาป หรือการให้อภัย
f) สภาวะด้านจิตสังคมของผู้ป่วยและครอบครัว เช่น ความสัมพันธ์ของครอบครัว ความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อมที่บ้านหากให้การดูแลที่บ้าน กลไกจัดการกับปัญหา ปฏิกิริยาของผู้ป่วยและครอบครัวต่อความเจ็บป่วย
g) ความต้องการสำหรับบริการเกื้อหนุน หรือการหยุดพักชั่วคราว สำหรับผู้ป่วย ครอบครัว หรือผู้ให้การดูแลอื่น
h) ความต้องการสำหรับลักษณะแวดล้อม (setting) หรือระดับของการดูแลที่เป็นทางเลือก และ
i) ปัจจัยเสี่ยงของผู้ที่อยู่ข้างหลัง เช่น กลไกการจัดการปัญหาของครอบครัว และโอกาสเกิดความเศร้าโศกที่รุนแรง
องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ AOP.1.7
Ο 1. ผู้ป่วยที่กำลังจะสิ้นชีวิตและครอบครัวได้รับการประมินและประเมินซํ้าสำหรับองค์ประกอบต่างๆ ในข้อ a) ถึง i) ของหัวข้อเจตนาตามภาวะความต้องการที่พบ
Ο 2. ผลการประเมินชี้นำการดูแลและบริการที่จัดให้ (ดูที่ AOP.2, ME 2)
Ο 3. ผลการประเมินได้รับการบันทึกไว้ในเวชระเบียนผู้ป่วย
มาตรฐาน AOP.1.8
การประเมินเมื่อแรกรับ รวมถึงการพิจารณาความจำเป็นในการวางแผนการจำหน่าย
เจตนาของ AOP.1.8
ความต่อเนื่องของการดูแลจำเป็นต้องมีการเตรียมการและพิจารณาเป็นพิเศษสำหรับผู้ป่วยบางราย เช่น สำหรับการวางแผนจำหน่าย | องค์กรจัดทำกลไก เช่น รายการเกณฑ์เพื่อบ่งชี้ผู้ป่วยซึ่งการวางแผนจำหน่ายมีความสำคัญมากกว่าผู้อื่นเนื่องจาก อายุ การที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ ความต้องการบริการทางการแพทย์และพยาบาลต่อเนื่อง หรือการช่วยเหลือในการทำกิจวัตรประจำวัน | เนื่องจากการเตรียมจำหน่ายอาจจะต้องใช้เวลากระบวนการประเมินและวางแผนดังกล่าวจึงควรเริ่มโดยเร็วที่สุดหลังจากรับไว้เป็นผู้ป่วยใน (ดูที่ ACC.4)
การวางแผนจำหน่ายรวมถึงการให้การศึกษาเพิ่มเติมที่ผู้ป่วยอาจต้องเกี่ยวข้องกับการดูแลอย่างต่อเนื่องนอกองค์กร | เช่น ผู้ป่วยที่วินิจฉัยได้ว่าเป็นเบาหวานชนิดที่ 1 จะต้องได้รับการศึกษาเกี่ยวกับการกำหนดอาหารและโภชนาการ และคำแนะนำของการฉีดอินซูลิน | ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาเนื้องจากกล้ามเนื้อหัวใจตายอย่างเฉียบพลันอาจต้องฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจหลังจำหน่าย และคำแนะนำทางโภชนาการเช่นกัน | การจำหน่ายที่ประสบความสำเร็จขึ้นอยู่กับการวางแผนที่มีประสิทธิภาพ
องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ AOP.1.8
Ο 1. มีกระบวนการในการบ่งชี้ผู้ป่วยซึ่งการวางแผนจำหน่ายมีความสำคัญ
Ο 2. การวางแผนจำหน่ายสำหรับผู้ป่วยเหล่านี้เริ่มต้นเร็วที่สุดหลังจากรับไว้เป็นผู้ป่วยใน
Ο 3. การวางแผนจำหน่ายรวมถึงการให้การศึกษาเพิ่มเติม และจัดทำแผนประเมินความต้องการและนำมาใช้
มาตรฐาน AOP.2
ผู้ป่วยทุกรายได้รับการประเมินซํ้าเป็นระยะ ตามสภาวะของผู้ป่วยและการรักษา เพื่อพิจารณาการตอบสนองต่อการรักษาและเพื่อวางแผนสำหรับการรักษาต่อเนื่อง หรือการจำหน่าย ℗
เจตนาของ AOP.2
การประเมินซํ้าโดยผู้ประกอบวิชาชีพที่ให้การดูแลผู้ป่วยทุกฝ่ายเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อรับรู้ว่าการตัดสินใจในการดูแลที่กระทำไปนั้นเหมาะสมและได้ผลหรือไม่ | ผู้ป่วยได้รับการประเมินซํ้าตลอดกระบวนการดูแลเป็นระยะตามภาวะความต้องการของผู้ป่วยและแผนการรักษา หรือตามที่กำหนดไว้ในนโยบายและระเบียบปฏิบัติขององค์กร | ผลของการประเมินซํ้าเหล่านี้ได้รับการบันทึกไว้ในเวชระเบียนผู้ป่วยเพื่อเป็นสารสนเทศสำหรับผู้ให้การดูแลผู้ป่วยทุกฝ่ายใช้ (ดูที่ ACC.3)
การประเมินซํ้าโดยแพทย์เป็นส่วนหนึ่งของการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่อง | แพทย์ประเมินผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบเฉียบพลันอย่างน้อยวันละครั้ง รวมทั้งในวันหยุด และเมื่อภาวะของผู้ป่วยมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ
มีการประเมินซํ้าและบันทึกผลไว้ในเวชระเบียนผู้ป่วย
- ตามช่วงเวลาที่สม่ำเสมอระหว่างการดูแล (เช่น พยาบาลบันทึกสัญญาณชีพเป็นระยะตามสภาวะของผู้ป่วย)
- ประจำทุกวันโดยแพทย์สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบเฉียบพลัน
- เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสำคัญในสภาวะของผู้ป่วย
- เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการวินิจฉัยโรคของผู้ป่วย และต้องมีการปรับเปลี่ยนแผนการดูแล และ
- เพื่อพิจารณาผลสำเร็จของการรักษาด้วยยาหรือวิธีการอื่นๆ และพิจารณาว่าสามารถเคลื่อนย้ายหรือจำหน่ายผู้ป่วยได้หรือไม่
ผู้ป่วยที่ไม่ใช่ผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลแบบเฉียบพลันอาจจะไม่ต้องประเมินโดยแพทย์ทุกวัน เช่น ผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสถียรได้รับการบำบัดแบบกลุ่ม หรือผู้ป่วยที่ผ่านระยะเฉียบพลันของการเจ็บป่วยหรือการผ่าตัด และผู้ป่วยที่ได้รับบริการฟื้นฟูสภาพ | องค์กรระบุเป็นลายลักษณ์อักษรสำหรับผู้ป่วยที่ไม่ต้องทำการประเมินทุกวัน
องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ AOP.2
Ο 1. ผู้ป่วยได้รับการประเมินซํ้าเพื่อพิจารณาการตอบสนองต่อการรักษาและเพื่อวางแผนสำหรับการรักษาต่อเนื่องหรือการจำหน่าย (ดูที่ COP.5, ME 3; ASC.6.1; และ MMU.7, ME 1)
Ο 2. ผู้ป่วยได้รับการประเมินซํ้าเป็นระยะตามสภาวะของผู้ป่วย และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสำคัญในสภาวะของผู้ป่วย แผนการดูแล และความต้องการของผู้ป่วยแต่ละราย (ดูที่ AOP.1.7, ME 2)
Ο 3. แพทย์ประเมินผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการดูแลรักษาในช่วงเฉียบพลันซํ้าอย่างน้อยทุกวัน รวมทั้งวันหยุด
Ο 4. สำหรับผู้ป่วยซึ่งไม่มีอาการเฉียบพลัน นโยบายขององค์กรกำหนดสถานการณ์ และประเภทของผู้ป่วยหรือกลุ่มผู้ป่วย ซึ่งแพทย์อาจจะประเมินผู้ป่วยห่างกว่าวันละครั้ง และกำหนดช่วงเวลาขั้นตํ่าสำหรับการประเมินซํ้าในผู้ป่วยเหล่านี้
Ο 5. ผลการประเมินซํ้าได้รับการบันทึกไว้ในเวชระเบียนผู้ป่วย
มาตรฐาน AOP.3
ผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมเป็นผู้ทำการประเมินและประเมินซํ้า ℗
เจตนาของ AOP.3
การประเมินผู้ป่วยและการประเมินซํ้า เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากที่ต้องการการศึกษา การฝึกอบรม ความรู้ และทักษะเป็นพิเศษ | ดังนั้น มีการกำหนดบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับทำหน้าที่ประเมินแต่ละประเภท และระบุหน้าที่รับผิดชอบไว้เป็นลายลักษณ์อักษร | โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีการกำหนดบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะประเมินผู้ป่วยฉุกเฉินหรือประเมินความต้องการด้านการพยาบาลไว้อย่างชัดเจน | การประเมินกระทำโดยผู้ประกอบวิชาชีพแต่ละสาขาภายใต้ขอบเขตของการประกอบวิชาชีพ (scope of practice) ใบอนุญาต (licensure) กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ หรือประกาศนียบัตร/ใบรับรอง (certification) ที่เกี่ยวข้อง
องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ AOP.3
Ο 1. องค์กรกำหนดให้ผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมและมีการกำหนดความรับผิดชอบของผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะทำการประเมินผู้ป่วยและประเมินซํ้าไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
Ο 2. เฉพาะบุคคลที่ได้รับอนุญาตโดยใบอนุญาตประกาศนียบัตร/ใบรับรอง กฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ทำการประเมินผู้ป่วย
Ο 3. การประเมินผู้ป่วยฉุกเฉินกระทำโดยผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม
Ο 4. การประเมินด้านการพยาบาลกระทำโดยผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม
มาตรฐาน AOP.4
บุคลากรและบริการด้านการแพทย์ พยาบาล และอื่นๆ ที่รับผิดชอบดูแลผู้ป่วย ร่วมกันวิเคราะห์และรวมผลการประเมินผู้ป่วยเข้าด้วยกัน และมีการระบุภาวะความต้องการในการดูแลเร่งด่วนหรือสำคัญที่สุด
เจตนาของ AOP.4
ผู้ป่วยอาจได้รับการประเมินหลายลักษณะจากในและนอกองค์กรโดยแผนกและบริการต่างๆ | ผลลัพธ์คือมีสารสนเทศ ผลการตรวจวิเคราะห์ และข้อมูลอื่นๆ ที่หลากหลายอยู่ในเวชระเบียนของผู้ป่วย (ดูที่ AOP.1.3) | ผู้ป่วยจะได้รับประโยชน์สูงสุดเมื่อเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบดูแลผู้ป่วยทำ งานร่วมกันในการวิเคราะห์ผลการประเมิน และประมวลสารสนเทศเหล่านี้เป็นภาพของสภาวะผู้ป่วยที่สมบูรณ์ | ความร่วมมือนี้นำมาสู่การระบุความต้องการของผู้ป่วย ลำดับความสำคัญ และการตัดสินใจเกี่ยวกับการดูแล | การบูรณาการผลการประเมินที่จุดนี้จะช่วยในการประสานงานการดูแลผู้ป่วย (ดูที่ AOP.1.2 และ AOP.1.2.1 และ COP.2)
สำหรับกรณีที่ภาวะความต้องการของผู้ป่วยไม่ซับซ้อน กระบวนการทำงานร่วมกันจะใช้วิธีง่ายๆ และไม่เป็นทางการ | สำหรับกรณีที่ภาวะความต้องการของผู้ป่วยมีความซับซ้อนหรือไม่ชัดเจน การประชุมของทีมผู้ให้การรักษาอย่างเป็นทางการ การประชุมปรึกษากับผู้ป่วย (patient conferences) และการตรวจเยี่ยมทางคลินิก อาจจะเป็นสิ่งจำเป็น | ผู้ป่วย ครอบครัว และบุคคลอื่นผู้ซึ่งตัดสินใจแทนผู้ป่วย เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจดังกล่าวเมื่อจำเป็น
องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ AOP.4
Ο 1. ข้อมูลและสารสนเทศจากการประเมินผู้ป่วยได้รับการวิเคราะห์และรวมเข้าด้วยกัน
Ο 2. ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลผู้ป่วยมีส่วนร่วมในกระบวนการดังกล่าว
Ο 3. ภาวะความต้องการของผู้ป่วยได้รับการจัดลำดับความสำคัญตามผลการประเมิน
AOP – AOP.1-AOP.4 | บริการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ | ธนาคารโลหิตและ/หรือการให้เลือด | บริการรังสีวิทยาและภาพวินิจฉัย