การดูแลอย่างต่อเนื่อง (Continuity of Care)
มาตรฐาน ACC.3
องค์กรออกแบบและดำเนินการกระบวนการเพื่อให้บริการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องภายในองค์กร และมีการประสานงานระหว่างผู้ประกอบวิชาชีพด้านบริการสุขภาพ ℗
เจตนาของ ACC.3
การเข้ารับบริการของผู้ป่วยตั้งแต่แรกรับจนถึงจำหน่ายหรือโอนย้ายผู้ป่วยนั้น อาจมีแผนกหน่วยบริการ และผู้ประกอบวิชาชีพด้านบริการสุขภาพที่หลากหลายจำนวนมากเข้ามามีส่วนร่วมในการให้บริการ | ในขั้นตอนต่างๆ ของการดูแลนั้น จะมีการนำทรัพยากรในองค์กรที่เหมาะสมมาใช้ตอบสนองความต้องการของผู้ป่วย และมีการนำทรัพยากรจากองค์กรภายนอกมาใช้หากจำเป็น | กระบวนการต่อเนื่องเพิ่มขึ้นเมื่อผู้ให้บริการดูแลผู้ป่วยมีข้อมูลที่จำเป็นจากปัจจุบันและข้อมูลทางการแพทย์ในอดีต เพื่อช่วยในการตัดสินใจ และเมื่อมีผู้ตัดสินใจหลายคนให้การดูแลผู้ป่วย ผู้ตัดสินใจเหล่านั้นเห็นด้วยกับการดูแลและบริการให้แก่ผู้ป่วย
เวชระเบียนผู้ป่วยเป็นแหล่งข้อมูลหลักของกระบวนการดูแลและความคืบหน้าของผู้ป่วยและทำให้เป็นเครื่องมือสื่อสารที่จำเป็น | สำหรับข้อมูลที่มีประโยชน์และสนับสนุนการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง จำเป็นต้องมีไว้ใช้ในระหว่างการดูแลผู้ป่วยใน ผู้ป่วยนอก และในเวลาที่ต้องการและปรับปรุงให้เป็นปัจจุบัน | บันทึกทางการแพทย์ พยาบาล และการดูแลผู้ป่วยอื่นๆ มีไว้สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพด้านบริการสุขภาพของผู้ป่วยทั้งหมดที่จำเป็นต้องใช้สำหรับการดูแลผู้ป่วย (ดูที่ AOP.2)
เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยเป็นไปอย่างราบรื่นไร้รอยต่อ องค์กรจำเป็นต้องออกแบบและนำไปปฎิบัติ ซึ่งกระบวนการเพื่อความต่อเนื่องและการประสานความร่วมมือในการดูแลผู้ป่วยระหว่างแพทย์ พยาบาลและผู้ประกอบวิชาชีพด้านบริการสุขภาพอื่นๆ ต่อไปนี้
a) บริการฉุกเฉินกับการรับไว้เป็นผู้ป่วยใน
b) บริการตรวจวินิจฉัยกับบริการการรักษา
c) บริการศัลยกรรมกับบริการที่ไม่ใช่ศัลยกรรม
d) ระหว่างโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยนอกต่างๆ และ
e) กับองค์กรอื่นและกับสิ่งแวดล้อมในการดูแลรูปแบบอื่นๆ
ผู้นำของ ลักษณะแวดล้อม (setting) และบริการต่างๆ ทำงานร่วมกันเพื่อออกแบบกระบวนการและนำไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง | กระบวนการดังกล่าวอาจใช้เกณฑ์เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติ แผนการดูแลทางคลินิก การวางแผนการดูแล รูปแบบการส่งต่อผู้ป่วย รายการตรวจสอบ และอื่นๆ ที่คล้ายกัน | องค์กรกำหนดบุคลากรทำหน้าที่รับผิดชอบในการประสานบริการ | บุคลากรเหล่านี้อาจประสานงานการดูแลรักษาผู้ป่วยทั้งหมด (เช่น ระหว่างแผนกต่างๆ) หรือรับผิดชอบประสานการดูแลผู้ป่วยเฉพาะราย (เช่น ผู้จัดการประจำตัวผู้ป่วย – case manager) | ทั้งนี้ โดยใช้เกณฑ์หรือนโยบายที่กำหนดไว้เพื่อพิจารณาตัดสินใจความเหมาะสมของการโอนย้ายผู้ป่วยภายในองค์กร (ดูที่ IPSG.2.2; ACC.2.3; ACC.2.3.1; COP.8.3; COP.9.3, ME 2; ASC.7.2; และ MOI.1)
องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ ACC.3
Ο 1. ผู้นำของบริการและ ลักษณะแวดล้อม (setting) ออกแบบและนำไปปฏิบัติ ซึ่งกระบวนการเพื่อความต่อเนื่องและการประสานความร่วมมือในการดูแล ตามที่ระบุไว้อย่างน้อยในข้อ a) ถึง e) ในหัวข้อเจตนา (ดูที่ GLD.10)
Ο 2. เวชระเบียนผู้ป่วยมีไว้ให้ผู้ประกอบวิชาชีพที่ได้รับอนุญาตเข้าถึงและจำเป็นต้องดูแลผู้ป่วย (ดูที่ AOP.1.1)
Ο 3. มีการปรับปรุงเวชระเบียนให้เป็นปัจจุบันเพื่อให้มั่นใจว่าสื่อสารกับผู้ป่วยด้วยข้อมูลล่าสุด
Ο 4. มีการใช้เกณฑ์เพื่อบริการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องและเพื่อประสานงานระหว่างการดูแลสุขภาพ เช่น แผนการดูแล แนวทางปฏิบัติ หรือเกณฑ์อื่นๆ
Ο 5. มีหลักฐานของความต่อเนื่องและการประสานความร่วมมือให้เห็นตลอดในทุกขั้นตอนของการดูแลผู้ป่วย
มาตรฐาน ACC.3.1
ในทุกขั้นตอนของการดูแลผู้ป่วยใน มีการมอบหมายให้บุคลากรที่มีคุณสมบัติเหมาะสมรับผิดชอบดูแลผู้ป่วย
เจตนาของ ACC.3.1
มีการกำหนดบุคลากรทำหน้าที่รับผิดชอบสำหรับประสานการดูแลผู้ป่วยและความต่อเนื่องของการดูแลโดยรวม หรือรับผิดชอบดูแลเฉพาะขั้นตอนอย่างชัดเจน เพื่อคงไว้ซึ่งความต่อเนื่องของการดูแลตลอดระยะเวลาที่ผู้ป่วยอยู่รับการรักษาในองค์กร | บุคคลดังกล่าวอาจเป็นแพทย์หรือบุคลากรอื่นที่มีคุณสมบัติเหมาะสม | มีการระบุชื่อบุคลากรผู้รับผิดชอบไว้ในเวชระเบียนผู้ป่วย | การมีบุคคลหนึ่งทำหน้าที่ติดตามกำกับการดูแลตลอดระยะเวลาที่ผู้ป่วยอยู่ในองค์กรจะช่วยทำให้ความต่อเนื่อง ความร่วมมือ ความพึงพอใจของผู้ป่วย คุณภาพดีขึ้น และอาจทำให้ผลลัพธ์ดีขึ้น จึงเป็นสิ่งที่พึงประสงค์สำหรับผู้ป่วยที่มีความซับซ้อนบางประเภท และผู้ป่วยอื่นๆ ที่องค์กรกำหนด | บุคคลผู้นี้ต้องร่วมมือและสื่อสารกับผู้ประกอบวิชาชีพด้านบริการสุขภาพคนอื่นๆ | นอกจากนั้น นโยบายขององค์กรยังระบุกระบวนการสำหรับการถ่ายโอนหน้าที่รับผิดชอบจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งระหว่างการลาหยุดพักผ่อน หยุดพักร้อน และช่วงเวลาอื่นๆ | นโยบายระบุถึงกลุ่มที่ปรึกษา แพทย์เวร ผู้ทำหน้าที่แทนชั่วคราว (locum tenens) หรือบุคคลอื่นซึ่งรับหน้าที่รับผิดชอบ วิธีการที่จะเข้ามารับหน้าที่รับผิดชอบ และการบันทึกการมีส่วนร่วม/ความรับผิดชอบในงานของบุคคลดังกล่าว
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงระยะการดูแลผู้ป่วยจากระยะหนึ่งไปสู่อีกระยะหนึ่ง (เช่น จากศัลยกรรมไปสู่การฟื้นฟูสมรรถภาพ) อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงบุคคลที่รับผิดชอบการดูแล หรืออาจจะเป็นบุคคลเดิมที่ยังคงกำกับ (oversee) การดูแลผู้ป่วยทั้งหมด
องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ ACC.3.1
Ο 1. มีการระบุผู้ทำหน้าที่รับผิดชอบประสานการดูแลผู้ป่วยใน ซึ่งพร้อมทำหน้าที่ตลอดทุกระยะของการดูแลผู้ป่วย
Ο 2. ผู้ทำหน้าที่รับผิดชอบดังกล่าวมีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะปฏิบัติหน้าที่ดูแลผู้ป่วย
Ο 3. มีการระบุการถ่ายโอนหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลผู้ป่วยจากบุคคลหนึ่งสู่อีกบุคคลหนึ่งไว้ในนโยบายขององค์กร
Ο 4. มีการระบุการวิธีการที่จะถ่ายโอนหน้าที่รับผิดชอบ และมีการบันทึกการมีส่วนร่วม/ความรับผิดชอบในงานของบุคคลดังกล่าว
มาตรฐาน ACC.3.2
สารสนเทศเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยได้รับการโอนย้ายไปพร้อมกับผู้ป่วย
เจตนาของ ACC.3.2
ในระหว่างการดูแล มีบ่อยครั้งที่ผู้ป่วยได้รับการโอนย้ายภายในองค์กรจากหน่วยบริการหรือแผนกผู้ป่วยในหนึ่งไปยังอหน่วยบริการหรือแผนกผู้ป่วยในอื่น | เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทีมผู้ดูแลเนื่องจากการโอนย้าย จะเกิดความต่อเนื่องในการดูแลผู้ป่วยได้ต่อเมื่อมีการส่งสารสนเทศที่จำเป็นเกี่ยวกับผู้ป่วยไปพร้อมกับผู้ป่วยด้วย | เป็นผลให้ผู้ป่วยได้รับยาและการรักษาอื่นๆ ต่อเนื่องโดยไม่ขาดตอน และสามารถเฝ้าติดตามสภาพอาการของผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม | การส่งต่อสารสนเทศดังกล่าวทำได้โดยการส่งมอบเวชระเบียนผู้ป่วยไปพร้อมผู้ป่วยหรือมีการสรุปสารสนเทศจากเวชระเบียนผู้ป่วยเมื่อมีการโอนย้าย | การสรุปดังกล่าวประกอบด้วยเหตุผลในการรับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาล การตรวจพบที่สำคัญ การวินิจฉัยโรค หัตถการที่กระทำ ยาและการรักษาอื่นๆ และสภาพอาการผู้ป่วยขณะโอนย้าย
องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ ACC.3.2
Ο 1. เวชระเบียนผู้ป่วยหรือเอกสารสรุปการดูแลผู้ป่วยได้รับการโอนย้ายไปยังงานบริการหรือหน่วยงานอื่นในองค์กรพร้อมกับผู้ป่วย
Ο 2. เอกสารสรุปการดูแลผู้ป่วยมีบันทึกเหตุผลในการรับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาล
Ο 3. เอกสารสรุปการดูแลผู้ป่วยมีบันทึกการตรวจพบที่สำคัญ
Ο 4. เอกสารสรุปการดูแลผู้ป่วยมีบันทึกการวินิจฉัยโรค
Ο 5. เอกสารสรุปการดูแลผู้ป่วยมีบันทึกหัตถการที่กระทำ
Ο 6. เอกสารสรุปการดูแลผู้ป่วยมีบันทึกยาและการรักษาอื่นๆ
Ο 7. เอกสารสรุปการดูแลผู้ป่วยมีบันทึกสภาพอาการผู้ป่วยเมื่อโอนย้าย
ACC – การคัดกรองผู้ป่วยสำหรับการรับไว้ในองค์กร | การรับไว้ในองค์กร | การดูแลอย่างต่อเนื่อง | การจำหน่าย การส่งต่อ และการนัดตรวจติดตาม | การโอนย้ายผู้ป่วย | การเคลื่อนย้าย