องค์กรบริการให้อวัยวะและ/หรือการปลูกถ่ายเนื้อเยื่อ
(Hospitals Providing Organ and/or Tissue Transplant Services)
(ใหม่)
หมายเหตุ: มาตรฐานต่อไปนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำมาใช้เมื่อผู้ป่วยและ/หรือครอบครัวร้องขอข้อมูลเกี่ยวกับการบริจาคอวัยวะและเนื้อเยื่อ และ/หรือเมื่อมีการจัดหาอวัยวะและเนื้อเยื่อ | สำหรับโรงพยาบาลที่มีอวัยวะและการบริการปลูกถ่ายเนื้อเยื่อ ให้ปฏิบัติตามมาตรฐาน COP.8 ถึง COP.9.3 | ติดต่อสำนักงานรับรองคุณภาพ JCI เพื่อสอบถามข้อมูล (แก้คำผิด)
การปลูกถ่ายอวัยวะเป็นขั้นตอนการช่วยชีวิตและอวัยวะและการปลูกถ่ายเนื้อเยื่อบางครั้งเป็นเพียงตัวเลือกในการรักษาหลายโรค | การปลูกถ่ายอวัยวะในปัจจุบันแสดงถึงอัตราความสำเร็จที่มากขึ้นสำหรับการปลูกถ่ายวัยวะและเนื้อเยื่อ | อย่างไรก็ตาม การปลูกถ่ายอวัยวะไม่ได้ปราศจากความเสี่ยง | การส่งผ่านการติดเชื้อจากผู้บริจาคไปยังผู้รับเป็นข้อกังวลที่ได้บันทึกไว้ในเอกสารความปลอดภัย | โรคที่ได้รับการบันทึกไว้ส่งผ่านจากผู้บริจาคที่ติดเชื้อภายหลังการปลูกถ่าย ยกตัวอย่างเป็นส่วนน้อย HIV ไวรัสตับอักเสบ B และ C และ โรคสมองฝ่อ (Creutzfeldt-Jakob disease (CJD)) | ผู้รับอาจจะติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราเมื่อมีการปนเปื้อนระหว่างการขนส่ง จัดเก็บ หรือการหยิบสัมผัส
ความมุ่งมั่นของผู้นำสร้างวัฒนธรรมที่เอื้อต่อการบริจาคอวัยวะและเนื้อเยื่อสามารถมีผลกระทบที่สำคัญของความสำเร็จในการจัดหาอวัยวะและเนื้อเยื่อ | มาตรฐานเหล่านี้ระบุความรับผิดชอบในระดับองค์กรสำหรับการบริจาคและจัดหาอวัยวะและเนื้อเยื่อ | สิ่งนี้รวมถึงบุคคลใดที่ได้รับการพิจารณาทางการแพทย์ที่เหมาะสมในการบริจาค โดยองค์กรจัดหาอวัยวะ | ถ้าองค์กรมีทรัพยากรที่จำเป็นเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของอวัยวะและเนื้อเยื่อหลังจากหัวใจตาย ผู้บริจาคที่หัวใจหยุดเต้น รวมอยู่ในความพยายามจัดหาอวัยวะ
มาตรฐาน COP.8
ผู้นำองค์กรมีทรัพยากรเพื่อสนับสนุนโปรแกรมการปลูกถ่ายอวัยวะ/เนื้อเยื่อ
เจตนาของ COP.8
โปรแกรมการปลูกถ่ายอวัยวะ/เนื้อเยื่อต้องการบุคลากรที่มีการศึกษาและอบรมมาโดยเฉพาะและทรัพยากรอื่นๆ เพื่อที่จะให้การดูแลที่มีความปลอดภัยและคุณภาพสูง | การศึกษาและอบรมพนักงานต้องการความรับผิดชอบเฉพาะและความต้องการการปลูกถ่ายอวัยวะ/เนื้อเยื่อ | ทรัพยากรอื่นที่จำเป็นรวมถึง อุปกรณ์ ห้องพักผู้ป่วยที่มีการระบายอากาศที่จำเป็นสำหรับขั้นตอนของการปลูกถ่ายอวัยวะ (เช่น ระบบระบายอากาศแรงดันบวก) ยาสำหรับประเภทขั้นตอนของการปลูกถ่ายอวัยวะ การทดสอบในห้องปฏิบัติการเพื่อให้มั่นใจว่าอวัยวะ/เนื้อเยื่อไม่ปนเปื้อน และทรัพยากรอื่นๆ ที่ระบุโดยผู้นำโปรแกรมบริการ | นอกจากนี้ ทรัพยากรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารสารสนเทศที่มีความจำเป็นเพื่อช่วยในการเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยง ผลการรักษา และข้อมูลอื่นๆ ที่สนับสนุนคุณภาพของการปลูกถ่ายอวัยวะ (ดูที่ GLD.1.1, ME 3; GLD.7; และ GLD.9, ME 2)
องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ COP.8
Ο 1. บุคลากรที่ได้รับการฝึกอบรมพร้อมที่จะให้การดูแลอย่างปลอดภัย มีคุณภาพสูงสำหรับโปรแกรมการปลูกถ่ายอวัยวะ/เนื้อเยื่อ
Ο 2. ผู้นำองค์กรจัดสรรทรัพยากรสำหรับโปรแกรมการปลูกถ่ายอวัยวะ/เนื้อเยื่อ
Ο 3. ระบบการบริหารสารสนเทศนำมาใช้เพื่อสนับสนุนโปรแกรมการปลูกถ่ายอวัยวะ/เนื้อเยื่อที่มีคุณภาพ
มาตรฐาน COP.8.1
ผู้นำโปรแกรมการปลูกถ่ายอวัยวะที่มีคุณสมบัติรับผิดชอบต่อโปรแกรม
เจตนาของ COP.8.1
ความรับผิดชอบขององค์กรที่ให้บริการปลูกถ่ายวัยวะและเนื้อเยื่อคือการให้การดูแลอย่างปลอดภัย มีคุณภาพสูง ต่อผู้บริจาคและผู้รับการปลูกถ่าย | ความรับผิดชอบหลักเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถรองรับกิจกรรมของโปรแกรมการปลูกถ่ายทั้งหมด | องค์ประกอบสำคัญของโครงสร้างพื้นฐานเป็นความรับผิดชอบของแต่ละบุคคลหรือมากกว่าในการกำกับดูแลโปรแกรมการปลูกถ่ายอวัยวะ/เนื้อเยื่อ | หน้าที่ของบุคลากรคนหนึ่งหรือมากกว่า ในการกำกับดูแลถูกระบุในความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย หรือในคำบรรยายลักษณะงาน (job description) ไม่ว่าจะเต็มเวลาหรือนอกเวลา | บุคลากรหนึ่งคนหรือมากกว่า ที่มีคุณสมบัติในการบริหารจัดการปลูกถ่ายอวัยวะ ผ่านการศึกษา ฝึกอบรม มีประสบการณ์ มีใบอนุญาต และ/หรือได้รับการรับรอง | คุณสมบัติที่จำเป็นขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่ดำเนินการ (ดู GLD.9, ME 1)
องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ COP.8.1
Ο 1. บุคลากรคนหนึ่งหรือมากกว่ากำกับดูแลโปรแกรมการปลูกถ่ายอวัยวะ/เนื้อเยื่อ
Ο 2. บุคลากรคนหนึ่งหรือมากกว่าที่มีคุณสมบัติสำหรับขอบเขตและความซับซ้อนของโปรแกรม
Ο 3. บุคลากรคนหนึ่งหรือมากกว่าตอบสนองความรับผิดชอบของการกำกับดูแลตามที่ระบุในโปรแกรมการปลูกถ่าย
มาตรฐาน COP.8.2
โปรแกรมการปลูกถ่ายรวมถึงทีมงานจากหลายสาขาอาชีพที่ประกอบด้วยผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในโปรแกรมการปลูกถ่ายอวัยวะที่เฉพาะเจาะจง
เจตนาของ COP.8.2
ความสำเร็จของโปรแกรมปลูกถ่ายและผลในเชิงบวกของผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายและผู้บริจาคมีชีวิตอยู่ ขึ้นอยู่กับทีมงานของผู้ให้บริการดูแลสุขภาพที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญทางคลินิกในการปลูกถ่ายอวัยวะเฉพาะ | การพยาบาล การใช้จิตวิทยา เภสัชวิทยา และความต้องการทางโภชนาการของผู้รับอวัยวะและผู้บริจาคที่ยังมีชีวิตอยู่จะเป็นความต้องการเฉพาะ | ชนิดของการปลูกเกี่ยวข้องกับทีมงานจากหลายสาขาอาชีพ ประกอบด้วยบุคลากรจาก
- แพทย์
- พยาบาล
- นักโภชนาการ
- เภสัช
- บริการทางสังคม และ
- บริการทางจิตใจ
ทีมนี้ควรจะมีคุณสมบัติ ได้รับการฝึกอบรม และมีประสบการณ์ในการให้การดูแลและบริการผู้รับการปลูกถ่ายและผู้บริจาคที่มีชีวิตอยู่ (ดูที่ GLD.9, ME 3)
องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ COP.8.2
Ο 1. โปรแกรมการปลูกถ่ายกำหนดองค์กระกอบของทีมปลูกถ่ายเนื้อเยื่อ/อวัยวะเป็นการเฉพาะไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
Ο 2. โปรแกรมการปลูกถ่ายกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของสมาชิกในทีมเป็นลายลักษณ์อักษร
Ο 3. ทีมปลูกถ่ายขึ้นอยู่กับบริการที่ให้ ทีมงานรวมถึงบุคคลที่มีประสบการณ์ทางการแพทย์ พยาบาล โภชนาการ เภสัชวิทยา การบริการทางสังคม และการบริการทางจิตใจ และการประสานงานปลูกถ่าย
Ο 4. โปรแกรมการปลูกถ่ายประเมินสมาชิกในทีมสำหรับคุณสมบัติ การฝึกอบรม และประสบการณ์ในเวลาที่แต่ละคนจะถูกพิจารณาให้ร่วมทีมการปลูกถ่าย
มาตรฐาน COP.8.3
มีกลไลการประสานงานที่กำหนดไว้สำหรับกิจกรรมการปลูกถ่ายที่เกี่ยวข้องกับ แพทย์ พยาบาล และผู้ประกอบวิชาชีพด้านบริการสุขภาพ
เจตนาของ COP.8.3
บริการการปลูกถ่ายมีความเสี่ยงที่ไม่ซ้ำกันและสำคัญต่อผู้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ/เนื้อเยื่อ และในกรณีของผู้บริจาคที่มีชีวิต จะมีความเสี่ยงต่อผู้บริจาคเช่นกัน | องค์ประกอบที่สำคัญที่ทำให้มั่นใจการดูแลอย่างปลอดภัย มีคุณภาพสูงทุกขั้นตอนของการบริจาค/กระบวนการรับคือ การระบุบุคคลที่มีความรับผิดชอบโดยรวมสำหรับการประสานงานและการดูแลผู้บริจาคและผู้รับการปลูกถ่ายอย่างต่อเนื่อง | บุคลากรนี้อาจเป็นแพทย์ พยาบาล หรือผู้ประกอบวิชาชีพด้านบริการสุขภาพอื่นๆ (ดูที่ ACC.3)
องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ COP.8.3
Ο 1. บุคคลที่รับผิดชอบในการประสานงานการดูแลผู้บริจาคที่มีชีวิตและผู้รับการปลูกถ่าย ได้ถูกระบุไว้และพร้อมตลอดทุกขั้นตอนการดูแลการปลูกถ่าย
Ο 2. ผู้ประสานงานอำนวยความสะดวกในการปลูกถ่ายทางคลินิกให้การดูแลต่อเนื่องกับผู้ป่วยที่ทำการปลูกถ่าย (ผู้สมัครและผู้รับ) ตลอดก่อนการปลูกถ่าย ขณะปลูกถ่าย และการจำหน่ายหลังปลูกถ่าย
Ο 3. การประสานงานปลูกถ่ายทางคลินิคมีการดูแลอย่างต่อเนื่องสำหรับผู้บริจาคที่ยังมีชีวิตอยู่ระหว่างการประเมิน การบริจาค และการจำหน่ายหลังการบริจาค
Ο 4. การประสานงานของกิจกรรมการปลูกถ่ายอวัยวะ/เนื้อเยื่อมีการสื่อสารให้กับบุคลากรทุกคนที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมในโปรแกรมปลูกถ่าย
มาตรฐาน COP.8.4
โปรแกรมการปลูกถ่ายใช้ผู้สมัครที่มีเกณฑ์การปลูกถ่าย ความเหมาะสมของอวัยวะเฉพาะ ความเหมาะสมทางจิตวิทยาและสังคม
เจตนาของ COP.8.4
มีหลายส่วนเพื่อประกอบการพิจารณาเมื่อมีการตัดสินใจจัดสรรอวัยวะไปให้ผู้รับ | การพิจารณาอาจจะได้รับ ความต้องการอันใกล้ของผู้ป่วยที่ต้องการปลูกถ่าย ประโยชน์ที่ผู้ป่วยอาจได้รับจากการปลูกถ่าย การรักษาอื่นๆ ที่เป็นทางเลือกที่มีอยู่ การปรับปรุงที่คาดหวังในคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย และจำนวนทรัพยากรที่ต้องการเพื่อให้การรักษาประสบความสำเร็จ
เนื่องจากอวัยวะและเนื้อเยื่อของมนุษย์ที่มีพร้อมใช้ในการปลูกถ่ายถูกจำกัด จึงมีการจัดทำเกณฑ์ในการเลือกผู้รับ | เกณฑ์สำหรับการเลือกผู้รับการปลูกถ่ายช่วยระบุผู้ป่วยที่มีความเหมาะสมมากที่สุดและจำกัดอคติที่อาจจะเกิดขึ้น | ดังนั้น เกณฑ์สำหรับการประเมินอวัยวะและเนื้อเยื่อถูกกำหนดในลักษณะโปร่งใส ขึ้นกับการประเมินวัตถุประสงค์ทางการแพทย์
นอกจากนี้ มีเกณฑ์ของวัยวะเฉพาะที่จะต้องนำมาพิจารณาในการตัดสินใจจัดสรรอวัยวะ | ตัวอย่างเช่น ความอยู่รอดของอวัยวะนอกร่างกายจะแตกต่างกันไปในแต่ละอวัยวะ | ดังนั้น การพิจารณาจะต้องมีช่วงเวลาที่ใช้จนไปถึงผู้รับ (ดูที่ AOP.1.1)
องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ COP.8.4
Ο 1. โปรแกรมการปลูกถ่ายระบุเกณฑ์การคัดเลือกผู้สมัครบริจาคอวัยวะเฉพาะไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
Ο 2. ผลของการประเมินทางการแพทย์รวมอยู่ในการกำหนดความเหมาะสมสำหรับการปลูกถ่าย
Ο 3. โปรแกรมการปลูกถ่ายระบุการยืนยันว่าอวัยวะเข้ากันได้ในการปลูกถ่าย ในเวชระเบียนผู้สมัคร
มาตรฐาน COP.8.5
โปรแกรมการปลูกถ่ายได้รับการยินยอมโดยเฉพาะกับการปลูกถ่ายวัยวะจากผู้สมัครปลูกถ่าย ℗
เจตนาของ COP.8.5
เพื่อที่จะให้ความยินยอม ผู้ป่วยจะต้องได้รับข้อมูลของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนดูแลที่จำเป็นสำหรับการตัดสินใจโดยได้รับการบอกกล่าว | ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการปลูกถ่ายเนื้อเยื่อหรือสุขภาพของผู้สมัครรวมถึงผู้รับ แต่ไม่จำกัด
a) ประวัติผู้บริจาค
b) สภาวะของอวัยวะที่ใช้
c) อายุของอวัยวะ และ
d) ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากโรคติดเชื้อ ถ้าไม่สามารถตรวจพบจากผู้บริจาคที่ติดเชื้อ
นอกจากนี้อาจจะมีปัจจัยทางจิตวิทยา จริยธรรม การเงิน และปัจจัยอื่นๆ ที่เป็นเอกลักษณ์สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายมากกว่าคนไข้คนอื่นๆ เช่น ความต้องการใช้ยาที่มีภูมิคุ้มกันและอัตราระบุความอยู่รอด | ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการขอความยินยอม | โปรแกรมการปลูกถ่ายเป็นไปตามนโยบายขององค์กรสำหรับความยินยอมที่ได้รับการบอกกล่าว รวมทั้งกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องในระดับท้องถิ่นและภูมิภาค (ดูที่ PFR.5.2)
องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ COP.8.5
Ο 1. โปรแกรมการปลูกถ่ายเป็นไปตามนโยบายขององค์กรเมื่อได้รับความยินยอมจากผู้สมัครปลูกถ่าย
Ο 2. นอกเหนือไปจากข้อมูลที่ให้กับผู้ป่วยผ่าตัดที่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการขอความยินยอม โปรแกรมการปลูกถ่ายแจ้งให้ผู้สมัครปลูกถ่ายในอนาคตถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นทางจิตสังคม
Ο 3. นอกเหนือไปจากข้อมูลที่ให้กับผู้ป่วยผ่าตัดที่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการขอความยินยอม โปรแกรมการปลูกถ่ายแจ้งให้ผู้สมัครปลูกถ่ายในอนาคตถึงปัจจัยความเสี่ยงของการบริจาคอวัยวะที่อาจมีผลต่อความสำเร็จของการปลูกถ่ายเนื้อเยื่อหรือสุขภาพของผู้สมัครรวมถึงผู้รับ แต่ไม่จำกัด ในข้อ a) ถึง d) ในหัวข้อเจตนา
Ο 4. นอกเหนือไปจากข้อมูลที่ให้กับผู้ป่วยผ่าตัดที่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการขอความยินยอม โปรแกรมการปลูกถ่ายแจ้งให้ผู้สมัครปลูกถ่ายในอนาคตถึงการสังเกตของศูนย์การปลูกถ่ายและอัตราการอยู่รอดที่คาดไว้ในหนึ่งปี
Ο 5. นอกเหนือไปจากข้อมูลที่ให้กับผู้ป่วยผ่าตัดที่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการขอความยินยอม โปรแกรมการปลูกถ่ายแจ้งให้ผู้สมัครปลูกถ่ายในอนาคตเกี่ยวกับยาที่เป็นภูมิคุ้มกันและค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้น
Ο 6. นอกเหนือไปจากข้อมูลที่ให้กับผู้ป่วยผ่าตัดที่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการขอความยินยอม โปรแกรมการปลูกถ่ายแจ้งให้ผู้สมัครปลูกถ่ายในอนาคตถึงทางเลือกในการรักษาอื่น
มาตรฐาน COP.8.6
โปรแกรมการปลูกถ่ายมีเอกสารบันทึกวิธีการ (หรือขั้นตอน) สำหรับการฟื้นตัวของการทำงานของอวัยวะและการรับอวัยวะเพื่อให้มั่นใจความเข้ากันได้ ความปลอดภัย ประสิทธิภาพ และคุณภาพของเซลล์มนุษย์ เนื้อเยื่อ และการปลูกถ่ายอวัยวะ
เจตนาของ COP.8.6
เพื่อลดความเสี่ยงของการปฏิเสธอวัยวะ ศัลยแพทย์ปลูกถ่ายต้องมั่นใจความเข้ากันได้ของผู้บริจาคอวัยวะและผู้รับ | การทดสอบที่ใช้บ่อยที่สุดสำหรับการเข้ากันได้รวมถึง ชนิดของเลือด และการเข้ากันได้ของเลือดและชนิดเนื้อเยื่อ | ศัลยแพทย์ปลูกถ่ายมั่นใจว่าการทดสอบสำหรับการเข้ากันได้ เกิดขึ้นก่อนการฟื้นตัวของการทำงานของอวัยวะและการปลูกถ่ายอวัยวะเกิดขึ้น
การส่งผ่านของโรคติดเชื้อและมะเร็งเป็นความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นสำหรับผู้รับจากผู้บริจาคเนื้อเยื่อและอวัยวะ | ดังนั้น ต้องมั่นใจระดับความปลอดภัย ประสิทธิภาพ และคุณภาพของเซลล์มนุษย์ เนื้อเยื่อและอวัยวะในการปลูกถ่าย | การประเมินอวัยวะและเนื้อเยื่อที่ได้รับบริจาคอาจระบุผู้บริจาคที่มีความเสี่ยงสูงสำหรับการติดเชื้อจากเชื้อโรคที่เป็นอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น | การคัดกรองผู้บริจาคจากประวัติทางคลินิคและการทดสอบผู้บริจาคสำหรับโรคที่ติดต่อได้ จะช่วยลดเหตุการณ์การส่งผ่านเชื้อโรค | การคัดกรองผู้บริจาคควรรวมการประเมินประวัติทางการแพทย์ ปัจจัยพฤติกรรมความเสี่ยง และการตรวจร่างกาย | การทดสอบผู้บริจาคควรรวมการทดสอบ HIV ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี และการทดสอบอื่นๆ ที่ได้รับการแนะนำ
สำหรับการติดตามการปลูกถ่ายของอวัยวะมนุษย์ ต้องมั่นใจอายุการใช้งานที่คาดหวังไว้ของผู้บริจาคและผู้รับ | รหัสที่เป็นข้อตกลงในระดับสากลระบุว่ามีความจำเป็นที่ต้องติดตามอย่างเต็มที่ในการปลูกถ่ายเนื้อเยื่อและเซลล์ (ดูที่ GLD.11.2)
องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ COP.8.6
Ο 1. ทีมปลูกถ่ายติดตามวิธีการการฟื้นตัวของการทำงานของอวัยวะ ซึ่งรวมถึงการทบทวนข้อมูลของผู้บริจาค กรุ๊ปเลือดของผู้รับ และข้อมูลที่สำคัญอื่นเพื่อให้มั่นใจความเข้ากันได้ก่อนที่การฟื้นตัวของอวัยวะเกิดขึ้น
Ο 2. ศัลยแพทย์ปลูกถ่ายรับผิดชอบในการยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรถึงความเหมาะสมทางการแพทย์ของผู้บริจาคอวัยวะสำหรับปลูกถ่ายไปยังผู้รับ
Ο 3. เมื่ออวัยวะมาถึงศูนย์การปลูกถ่าย ศัลยแพทย์ผู้ปลูกถ่ายและอย่างน้อยผู้ประกอบวิชาชีพด้านบริการสุขภาพที่มีใบอนุญาตที่ศูนย์การปลูกถ่ายตรวจสอบกรุ๊ปเลือดของผู้บริจาคและข้อมูลที่สำคัญอื่นเข้ากันได้กับผู้รับก่อนที่จะมีการปลูกถ่าย
Ο 4. ศัลยแพทย์ปลูกถ่ายมีหน้าที่ในการยืนยันการประเมินผู้บริจาคและการทดสอบผู้บริจาคสำหรับโรคติดเชื้อและโรคมะเร็งเสร็จสิ้นก่อนที่อวัยวะฟื้นตัวและการปลูกถ่ายอวัยวะเกิดขึ้น
Ο 5. เมื่ออวัยวะมาถึงศูนย์การปลูกถ่าย ศัลยแพทย์ผู้ปลูกถ่ายและอย่างน้อยผู้ประกอบวิชาชีพด้านบริการสุขภาพที่มีใบอนุญาตที่ศูนย์การปลูกถ่ายตรวจสอบการประเมินผลและการทดสอบอวัยวะบริจาค ว่าไม่แสดงหลักฐานของการเกิดโรคและสภาวะของอวัยวะเหมาะสมสำหรับการปลูกถ่าย
มาตรฐาน COP.8.7
มีแผนการดูแลผู้ป่วยแต่ละคนเป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วยปลูกถ่าย
เจตนาของ COP.8.7
การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะหรือเนื้อเยื่อแตกต่างกันขึ้นอยู่กับขนิดของอวัยวะหรือเนื้อเยื่อที่จะทำการปลูกถ่าย | นอกจากนี้ ประวัติสุขภาพของผู้ป่วยมีผลกระทบต่อการฟื้นตัว | มีการจัดทำแผนการดูแลเป็นรายบุคคลเป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วยปลูกถ่าย
องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ COP.8.7
Ο 1. โปรแกรมการปลูกถ่ายมีการบันทึกอวัยวะเฉพาะเป็นแนวทางปฏิบัติทางคลินิกสำหรับก่อนการปลูกถ่าย ระหว่างการปลูกถ่าย และการจำหน่ายหลังจากปลูกถ่าย
Ο 2. ผู้ป่วยปลูกถ่ายแต่ละคนอยู่ภายใต้การดูแลของทีมดูแลผู้ป่วยจากหลายสาขาวิชาชีพประสานงานโดยแพทย์ผู้ปลูกถ่ายหลักตลอดในขั้นตอนก่อนการปลูกถ่าย ระหว่างการปลูกถ่าย และการจำหน่ายหลังจากปลูกถ่าย
Ο 3. มีการประเมินความเหมาะสมของผู้สมัครปลูกถ่ายสำหรับความเหมาะสมของการรักษาทางการแพทย์และศัลยกรรมที่อาจจะมีอัตราการอยู่รอดในระยะสั้นและระยะยาวเมื่อเปรียบเทียบกับการปลูกถ่าย
Ο 4. ผู้สมัครปลูกถ่ายได้รับการประเมินผลทางจิตวิทยา
Ο 5. โปรแกรมการปลูกถ่ายมีการปรับปรุงข้อมูลด้านคลินิกในเวชระเบียนผู้ป่วยปลูกถ่ายอย่างต่อเนื่อง
COP – การดูแลที่ให้แก่ผู้ป่วยทุกราย | การดูแลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงและการให้บริการที่มีความเสี่ยงสูง | การรับรู้ของการเปลี่ยนแปลงสภาวะผู้ป่วย | บริการกู้ชีพ | อาหารและโภชนบำบัด | การบำบัดความเจ็บปวด | การดูแลระยะสุดท้ายของชีวิต | องค์กรบริการให้อวัยวะและ/หรือการปลูกถ่ายเนื้อเยื่อ | โปรแกรมปลูกถ่ายอวัยวะบริจาคที่ยังมีชีวิตอยู่