fbpx
WeLoveMed.com

IPSG เป้าหมาย 3: เพิ่มความปลอดภัยในการใช้ยาที่ต้องระมัดระวังสูง

เป้าหมาย 3: เพิ่มความปลอดภัยในการใช้ยาที่ต้องระมัดระวังสูง (Goal 3: Improve the Safety of High-Alert Medications)

มาตรฐาน IPSG.3
องค์กรจัดทำแนวทางในการเพิ่มความปลอดภัยของการใช้ยาที่ต้องระมัดระวังสูง และนำไปปฏิบัติ ℗

มาตรฐาน IPSG.3.1
องค์กรจัดทำแนวทางในการจัดการด้านความปลอดภัยจากการใช้สารละลายเกลือแร่ที่มีความเข้มข้นสูง ℗

เจตนาของ IPSG.3 ถึง IPSG.3.1
เมื่อยาเป็นส่วนหนึ่งของแผนการรักษาผู้ป่วย การจัดการที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะสร้างความมั่นใจด้านความปลอดภัยผู้ป่วย | ยาใดๆ ที่ซื้อโดยไม่มีใบสั่งยา ถ้าใช้ไม่ถูกต้องอาจทำให้เป็นอันตราย | อย่างไรก็ตาม ยาที่ต้องระมัดระวังสูงก่อให้เกิดอันตรายบ่อยครั้งมากขึ้น และอันตรายมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นเมื่อได้รับอย่างผิดพลาด | สามารถทำให้ผู้ป่วยทรมานและมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการดูแลผู้ป่วยเหล่านี้

ยาที่ต้องระมัดระวังสูงรวมถึง

  • ยาที่มีเปอร์เซ็นต์ความผิดพลาดสูงและ/หรือต้องใช้ตลอดเวลา เช่น อินซูลิน heparin หรือยาเคมีบำบัด และ
  • ยาที่มีชื่อ บรรจุภัณฑ์ และการติดฉลาก หรือการใช้ในคลินิก ที่มีชื่อคล้าย (look alike/sound alike) เช่น Xanax และ Zantac หรือ hydralazine และ hydroxyzine

มีชื่อยาจำนวนมากที่มีลักษณะคล้ายๆ กันกับชื่อยาอื่นๆ | ชื่อที่สับสนเป็นสาเหตุของข้อผิดพลาดในการใช้ยาทั่วโลก | ปัจจัยที่เพิ่มความสับสนนี้คือ

  • การขาดความรู้จากชื่อของยา
  • ผลิตภัณฑ์ใหม่
  • บรรจุภัณฑ์หรือฉลากที่คล้ายกัน
  • การใช้งานทางคลินิกที่คล้ายกัน
  • จุดแข็ง รูปแบบปริมาณการใช้ และความถี่ในการบริหารยา ที่คล้ายกัน และ
  • ใบสั่งยาที่ผิด หรือ ความเข้าใจผิดระหว่างการออกคำสั่งยาทางวาจา

บัญชีรายการยาที่ต้องระมัดระวังสูงและที่มีลักษณะคล้ายๆ กันสามารถหาดูได้จากองค์กรต่างๆ เช่น องค์การอนามัยโลก หรือ สถาบันการใช้ยาที่ปลอดภัย (Institute for Safe Medication Practice (ISMP)) และในเอกสารทางวิชาการ

ประเด็นความปลอดภัยด้านยาที่มักจะมีการกล่าวถึงคือการให้สารละลายเกลือแร่ที่มีความเข้มข้นสูงแก่ผู้ป่วยโดยไม่ได้ตั้งใจ (เช่น โปแตสเซียมคลอไรด์ [ความเข้มข้นตั้งแต่ 2mEq/ml ขึ้นไป] โปแตสเซียมฟอสเฟต [ความเข้มข้นตั้งแต่ 3 mmol/ml ขึ้นไป] โซเดียมคลอไรด์ [ความเข้มข้นมากกว่า 0.9%] และแมกนีเซียมซัลเฟต [ความเข้มข้นตั้งแต่ 50% ขึ้นไป]) | ความคลาดเคลื่อนนี้สามารถเกิดได้เมื่อบุคลากรไม่ได้รับการแนะนำงานเพื่อสร้างความคุ้นเคยกับหน่วยดูแลผู้ป่วยอย่างเหมาะสม เมื่อมีการใช้บริการพยาบาลรับจ้างช่วง (contracted nurses) และไม่ได้รับการแนะนำงานอย่างเหมาะสม หรือระหว่างภาวะฉุกเฉิน | วิธีการที่มีประสิทธิผลมากที่สุดในการลดหรือขจัดเหตุการณ์นี้คือการจัดให้มีกระบวนการสำหรับจัดการยาที่ต้องระมัดระวังสูง รวมถึงการเปลี่ยนสถานที่เก็บสำรองสารละลายเกลือแร่เข้มข้นจากหน่วยดูแลผู้ป่วยไปไว้ที่หน่วยเภสัชกรรม (ดูที่ MMU.3)

องค์กรจัดทำนโยบาย และ/หรือ ระเบียบปฏิบัติด้วยความร่วมมือของผู้เกี่ยวข้อง เพื่อระบุบัญชีรายการยาที่มีความเสี่ยงสูงตามข้อมูลขององค์กรเอง เหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์และเกือบพลาด และข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง | รายการรวมถึง ยาที่ระบุว่ามีความเสี่ยงสูงสำหรับผลที่ไม่พึงประสงค์ และยาที่มีความเสี่ยงที่มีลักษณะคล้ายๆ กันที่สร้างความสับสน | ข้อมูลที่ได้จากเอกสารทางวิชาการและ/หรือกระทรวงสาธารณสุขมีประโยชน์ในการช่วยระบุว่ายาใดที่ควรรวมอยู่ในยาที่มีความเสี่ยงสูง | มีวิธีการเก็บในลักษณะที่จำกัดการเข้าถึงเพื่อป้องกันการบริหารยาโดยไม่ได้ตั้งใจ | กลยุทธ์ที่จะปรับปรุงความปลอดภัยของยาที่มีความเสี่ยงสูงอาจได้รับการปรับให้เหมาะสมกับความเสี่ยงเฉพาะของแต่ละยา และควรมีการพิจารณากระบวนการออกใบสั่งยา การเตรียมยา การบริหารยา และการติดตาม นอกเหนือไปจากกลยุทธ์การจัดเก็บที่ปลอดภัย | นโยบาย และ/หรือ ระเบียบปฏิบัติระบุบริเวณที่สารละลายเกลือแร่เข้มข้นมีความจำเป็นทางคลินิกตามหลักฐานและการปฏิบัติของวิชาชีพ เช่น แผนกฉุกเฉินหรือห้องผ่าตัด และระบุวิธีการเขียนฉลากที่ชัดเจน รวมถึงวิธีการเก็บในบริเวณนั้นในลักษณะที่จำกัดการเข้าถึงเพื่อป้องกันการบริหารยาโดยไม่ได้ตั้งใจ

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ IPSG.3
Ο 1. มีการจัดทำนโยบาย และ/หรือ ระเบียบปฏิบัติ เกี่ยวกับการระบุยาที่ต้องระมัดระวังสูงรวมถึงยาที่มีลักษณะคล้ายๆ กัน ซึ่งจัดทำจากข้อมูลโดยเฉพาะขององค์กร
Ο 2. มีการจัดทำนโยบาย และ/หรือ ระเบียบปฏิบัติ เกี่ยวกับการระบุ การจัดเก็บยาโดยเฉพาะ การออกใบสั่งยา การเตรียมยา การบริหารยา และการติดตามยาที่ต้องระมัดระวังสูงเพื่อปรับปรุงความปลอดภัย
Ο 3. มีการจัดทำนโยบาย และ/หรือ ระเบียบปฏิบัติ เกี่ยวกับการระบุ สถานที่เก็บ การเขียนฉลาก และการจัดเก็บยาที่ต้องระมัดระวังสูงรวมถึงยาที่มีลักษณะคล้ายๆ กัน

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ IPSG.3.1
Ο 1. มีการดำเนินการเพื่อป้องกันการบริหารสารละลายเกลือแร่ความเข้มข้นสูงโดยไม่ได้ตั้งใจในบริเวณที่ได้รับอนุญาตโดยนโยบาย
Ο 2. ไม่มีสารละลายเกลือแร่ความเข้มข้นสูงในหน่วยดูแลผู้ป่วยถ้าไม่มีความจำเป็นทางคลินิก
Ο 3. สารละลายเกลือแร่ความเข้มข้นสูงซึ่งเก็บไว้ในหน่วยดูแลผู้ป่วยได้รับการเขียนฉลากอย่างชัดเจน และเก็บไว้ในลักษณะที่จำกัดการเข้าถึง


IPSG – ระบุตัวผู้ป่วยถูกต้อง | เพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสาร | ความปลอดภัยในการใช้ยาที่ต้องระมัดระวังสูง | สร้างความมั่นใจในการผ่าตัดให้ถูกตำแหน่ง ถูกหัตถการ ถูกคน | ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเนื่องจากบริการสุขภาพ | ลดความเสี่ยงของอันตรายต่อผู้ป่วยจากการพลัดตกหกล้ม