เป้าหมาย 6: ลดความเสี่ยงของอันตรายต่อผู้ป่วยจากการพลัดตกหกล้ม (Goal 6: Reduce the Risk of Patient Harm Resulting from Falls)
มาตรฐาน IPSG.6
องค์กรจัดทำแนวทางเพื่อลดความเสี่ยงของอันตรายต่อผู้ป่วยจากการพลัดตกหกล้ม และนำไปปฏิบัติ ℗
เจตนาของ IPSG.6
การพลัดตกหกล้มก่อให้เกิดการบาดเจ็บต่อผู้ป่วยที่รับไว้นอนโรงพยาบาลและผู้ป่วยนอกในสัดส่วนที่สำคัญ | ความเสี่ยงจากการพลัดตกหกล้มเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ผู้ป่วย และ/หรือสถานที่ | การประเมินรวมไปถึง ประวัติการพลัดตกหกล้ม การทบทวนการใช้ยาและแอลกอฮอล์ การใช้เครื่องช่วยเดินหรือการทรงตัวของผู้ป่วย ความบกพร่องทางสายตา สถานะทางจิตใจที่เปลี่ยนแปลง และอื่นๆ ที่คล้ายกัน | ผู้ป่วยที่ได้รับการประเมินขั้นต้นว่ามีความเสี่ยงต่ำจากการพลัดตกหกล้มอาจกลายเป็นความเสี่ยงสูงได้ | เหตุผลรวมถึง แต่ไม่จำกัด การผ่าตัดและ/หรือการระงับความรู้สึก การเปลี่ยนแปลงในสภาวะของผู้ป่วยอย่างทันทีทันใด และการปรับยา | ผู้ป่วยหลายคนได้รับการประเมินซ้ำระหว่างการดูแลสุขภาพในองค์กร | เกณฑ์ที่บันทึกไว้ระบุประเภทของผู้ป่วยซึ่งได้รับการพิจารณาว่ามีความเสี่ยงสูงจากการพลัดตกหกล้ม
ตัวอย่างของสถานการณ์ความเสี่ยงคือ ผู้ป่วยที่มาถึงแผนกผู้ป่วยนอกจากสิ่งอำนวยความสะดวกในการดูแลระยะยาวผ่านทางรถพยาบาลสำหรับการทดสอบทางรังสี | ผู้ป่วยอาจมีความเสี่ยงจากการพลัดตกหกล้มในสถานการณ์ที่ถ่ายโอนจากรถพยาบาลไปยังเตียงทดสอบผู้ป่วย หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งในขณะที่นอนอยู่บนเตียงทดสอบผู้ป่วยที่แคบ | สถานที่โดยเฉพาะอาจมีความเสี่ยงสูงขึ้นจากการพลัดตกหกล้มเพราะการให้บริการ | ตัวอย่างเช่น แผนกกายภาพบำบัด (ผู้ป่วยในหรือผู้ป่วยนอก) มีอุปกรณ์เฉพาะหลายประเภทที่ใช้โดยผู้ป่วยซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม เช่น บาร์คู่ บันไดแบบชานพักลอย (freestanding staircases) และอุปกรณ์ออกกำลังกาย
ในสภาพแวดล้อมของประชากรที่องค์กรให้การดูแล บริการที่จัดหาให้ และสถานที่สิ่งอำนวยความสะดวก องค์กรควรจะประเมินความเสี่ยงของผู้ป่วยต่อการพลัดตกหกล้มและดำเนินการเพื่อลดความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม และลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บหากมีการพลัดตกหกล้ม | โปรแกรมการลดการพลัดตกหกล้มอาจจะทำการประเมินความเสี่ยงและการประเมินซ้ำเป็นระยะของแต่ละประชากร และ/หรือ ในสภาพแวดล้อมที่มีการดูแลและการให้บริการ (เช่น การดำเนินการระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความปลอดภัยเป็นระยะ) | องค์กรมีความรับผิดชอบที่จะระบุสถานที่ (เช่นแผนกกายภาพบำบัด) สถานการณ์ (เช่น ผู้ป่วยเดินทางมาถึงโดยรถพยาบาล ผู้ป่วยถูกย้ายจากรถเข็น หรือ การใช้อุปกรณ์ยกผู้ป่วย) และประเภทของผู้ป่วย (เช่น การใช้เครื่องช่วยเดินหรือการทรงตัวของผู้ป่วย ความบกพร่องทางสายตา สถานะทางจิตใจที่เปลี่ยนแปลง และอื่นๆ ที่คล้ายกัน) ผู้ซึ่งมีความเสี่ยงสูงจากการพลัดตกหกล้ม
องค์กรจัดทำโปรแกรมลดความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม ตามนโยบาย และ/หรือ ระเบียบปฏิบัติที่เหมาะสม | โปรแกรมเฝ้าติดตามผลที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจของมาตรการลดการพลัดตกหกล้ม | ตัวอย่างเช่น การใช้เครื่องผูกมัดที่ไม่เหมาะสมหรือการจำกัดนํ้าอาจส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บ การไหลเวียนโลหิตที่ไม่ปกติ หรือการสูญเสียความสมบูรณ์ของผิวหนัง | โปรแกรมได้รับการนำสู่การปฏิบัติ (ดูที่ AOP.1.4)
องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ IPSG.6
Ο 1. องค์กรดำเนินการกระบวนการประเมินผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกซึ่งมีการวินิจฉัยว่า สภาวะ สถานการณ์ หรือสถานที่ มีความเสี่ยงสูงต่อการพลัดตกหกล้ม
Ο 2. องค์กรดำเนินการกระบวนการประเมินผู้ป่วยเมื่อแรกรับและอย่างต่อเนื่อง ประเมินซํ้า และในช่วงต้นของผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก เมื่อมีข้อบ่งชี้ถึงความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มจากเกณฑ์ที่บันทึกไว้
Ο 3. มีการดำเนินการตามมาตรการลดความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มสำหรับผู้ป่วยและจากสถานการณ์และสถานที่ ที่ถูกประเมินว่ามีความเสี่ยง
IPSG – ระบุตัวผู้ป่วยถูกต้อง | เพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสาร | ความปลอดภัยในการใช้ยาที่ต้องระมัดระวังสูง | สร้างความมั่นใจในการผ่าตัดให้ถูกตำแหน่ง ถูกหัตถการ ถูกคน | ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเนื่องจากบริการสุขภาพ | ลดความเสี่ยงของอันตรายต่อผู้ป่วยจากการพลัดตกหกล้ม