การเตรียมพร้อมรับอุบัติภัย (Disaster Preparedness)
มาตรฐาน FMS.6
องค์กรจัดทำและคงไว้ซึ่งโปรแกรมและแผนการบริหารในภาวะฉุกเฉิน เพื่อตอบสนองเหตุฉุกเฉิน โรคระบาด ภัยธรรมชาติหรืออุบัติภัยอื่นๆ ที่มีโอกาสเกิดในชุมชน
เจตนาของ FMS.6
ภาวะฉุกเฉิน โรคระบาด และอุบัติภัย ในชุมชน อาจจะเกี่ยวข้องกับองค์กรโดยตรง เช่น พื้นที่ดูแลผู้ป่วยเสียหายจากแผ่นดินไหว หรือไข้หวัดใหญ่ซึ่งทำให้บุคลากรไม่สามารถมาทำงานได้ | โปรแกรมสำหรับบริหารจัดการภาวะฉุกเฉินเริ่มจากการระบุอุบัติภัยซึ่งเกิดขึ้นบ่อยและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ขององค์กร | ตัวอย่างเช่น พื้นที่ที่ใกล้ทะเลมีโอกาสเกิดพายุเฮอริเคนหรือซึนามิมากกว่าประเทศที่อยู่ล้อมรอบด้วยพื้นดิน | อาคารสถานที่เสียหายหรือการบาดเจ็บครั้งใหญ่สามารถเกิดได้ในองค์กร
สิ่งสำคัญคือการระบุผลที่เกิดขึ้นจากอุบัติภัยเท่าเทียมกับการระบุชนิดของอุบัติภัย | ส่งผลช่วยให้มีการวางแผนกลยุทธ์ที่จำเป็นเมื่ออุบัติภัยเกิดขึ้น | ตัวอย่างเช่น อะไรคือความเป็นไปได้เมื่อมีอุบัติภัยทางธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว ส่งผลกระทบต่อน้ำและไฟหรือไม่ แผ่นดินไหวทำให้บุคลากรไม่สามารถตอบสนองต่ออุบัติภัยหรือไม่ ทั้งเนื่องจากถนนถูกปิดกันหรือเพราะสมาชิกในครอบครัวเป็นเหยื่อในเหตุการณ์ | ในสถานการณ์เช่นนี้ บุคลากรที่รับผิดชอบอาจจะไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ตอบสนองต่ออุบัติภัยได้ | นอกจากนี้ องค์กรจำเป็นต้องระบุบทบาทในสังคม | ตัวอย่างเช่น ทรัพยากรที่องค์กรต้องมีให้ชุมชนเมื่อมีอุบัติภัยเกิดขึ้นและวิธีการสื่อสารกับชุมชนทำได้อย่างไร
องค์กรจัดทำแผนและโปรแกรมสำหรับบริหารจัดการภาวะฉุกเฉินดังกล่าว เพื่อสามารถตอบสนองได้อย่างมีประสิทธิผล. แผนบริหารจัดการสำหรับภาวะฉุกเฉินประกอบด้วยกระบวนการสำหรับ
a) การกำหนดประเภท โอกาสเกิด และผลที่จะตามมา จากอันตราย การคุกคาม และเหตุการณ์ฉุกเฉิน
b) การกำหนดบทบาทขององค์กรเมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว
c) กลยุทธ์การสื่อสารสำหรับเหตุการณ์ดังกล่าว
d) การจัดการทรัพยากรเมื่อเกิดเหตุการณ์ รวมทั้งแหล่งทรัพยากรทางเลือก
e) การจัดการกิจกรรมทางคลินิกเมื่อเกิดเหตุการณ์ รวมทั้งสถานที่ดูแลที่เป็นทางเลือก
f) การระบุและมอบหมายบทบาทและหน้าที่รับผิดชอบของบุคลากร เมื่อเกิดเหตุการณ์ และ
g) กระบวนการจัดการภาวะฉุกเฉินเมื่อหน้าที่รับผิดชอบของบุคลากรขัดแย้งกับหน้าที่รับผิดชอบขององค์กรในการจัดบุคลากรเพื่อดูแลผู้ป่วย
มีการทดสอบแผนรองรับภัยพิบัติโดย
- การทดสอบแผนทั้งหมดเต็มรูปแบบประจำปี เป็นการภายในหรือเป็นส่วนของการทดสอบของชุมชน หรือ
- การทดสอบองค์ประกอบที่สำคัญในข้อ c) ถึง g) ของแผนในระหว่างปี
ถ้าองค์กรมีประสบการณ์กับอุบัติภัยจริง ได้มีการปฏิบัติตามแผนฉุกเฉิน และมีการประชุมสรุปผลหลังเกิดอุบัติภัย ให้ถือว่าสถานการณ์ดังกล่าวเทียบเท่ากับการทดสอบประจำปี
องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ FMS.6
Ο 1. องค์กรระบุอุบัติภัยสำคัญทั้งภายในและภายนอก ได้แก่ ภาวะฉุกเฉิน โรคระบาด และอุบัติภัยธรรมชาติหรืออื่นๆ รวมถึงเหตุการณ์โรคระบาดใหญ่ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงสำคัญ การพิจารณาสถานที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ขององค์กร
Ο 2. องค์กรระบุผลกระทบที่จะเกิดขึ้นสำหรับทุกภัยพิบัติในทุกด้านของการดูแลและบริการผู้ป่วย
Ο 3. องค์กรจัดทำและนำไปปฏิบัติซึ่งแผนสำหรับการตอบสนองอุบัติภัยที่มีโอกาสเกิดขึ้น ประกอบด้วยข้อ a) ถึง g) ในหัวข้อเจตนา
Ο 4. การทดสอบแผนทั้งหมดเต็มรูป หรืออย่างน้อยในองค์ประกอบที่สำคัญข้อ c) ถึง g) ของแผน ประจำทุกปี
Ο 5. มีการสรุปบทเรียนเมื่อสิ้นสุดการทดสอบทุกครั้ง
FMS – การนำและการวางแผน | ความปลอดภัยและสวัสดิภาพ | วัตถุอันตราย | การเตรียมพร้อมรับอุบัติภัย | ความปลอดภัยด้านอัคคีภัย | เทคโนโลยีทางการแพทย์ | ระบบสาธารณูปโภค | การติดตามโปรแกรมบริหารจัดการอาคารสถานที่ | การให้ความรู้แก่บุคลากร