มาตรฐาน SQE.1
ผู้นำองค์กรกำหนดการศึกษา ทักษะ ความรู้ และข้อกำหนดอื่นๆ ที่ต้องการสำหรับบุคลากรทุกคน
เจตนาของ SQE.1
ผู้นำองค์กรกำหนดคุณสมบัติของบุคลากรเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ป่วย | ผู้นำกำหนดการศึกษา ทักษะ ความรู้ และคุณสมบัติอื่นๆ ที่พึงประสงค์ของบุคลากร หรือสำหรับกลุ่มที่มีตำแหน่งเหมือนกัน เช่น พยาบาลหน่วยดูแลผู้ป่วยวิกฤติ | ผู้นำใช้ปัจจัยต่อไปนี้ในการคาดการณ์ความต้องการบุคลากร:
– เป้าหมายขององค์กร
– ลักษณะผสมของผู้ป่วย (mix of patients) ที่องค์กรให้บริการ รวมถึงความซับซ้อนและความรุนแรงของความต้องการของผู้ป่วย
– บริการวินิจฉัยโรคและบริการทางคลินิกที่จัดให้โดยองค์กร
– ปริมาณผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก
– เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ใช้ในการดูแลผู้ป่วย
องค์กรปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับซึ่งกำหนดระดับการศึกษา ทักษะ หรือคุณสมบัติอื่นๆ ที่พึงประสงค์ของบุคลากร กฎหมายและระเบียบข้อบังคับซึ่งกำหนดจำนวนบุคลากรหรือสัดส่วนผสมของบุคลากรสำหรับองค์กร (ดูที่ QPS.1, ME 2 และ GLD.8)
องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ SQE.1
Ο 1. มีการใช้เป้าหมายขององค์กร ลักษณะผสมของผู้ป่วย บริการ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ ในการวางแผนบุคลากร
Ο 2. มีการกำหนดการศึกษา ทักษะ และความรู้ที่พึงประสงค์ สำหรับบุคลากร
Ο 3. มีการนำกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการวางแผนบุคลากร
มาตรฐาน SQE.1.1
มีการกำหนดหน้าที่รับผิดชอบของบุคลากรแต่ละคนไว้ในคำบรรยายลักษณะงานที่เป็นปัจจุบัน ℗
เจตนาของ SQE.1.1
มีการกำหนดหน้าที่รับผิดชอบของบุคลากรที่ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพที่จะปฏิบัติงานโดยอิสระไว้ในคำบรรยายลักษณะงานที่เป็นปัจจุบัน | คำบรรยายลักษณะงานเป็นฐานสำหรับการมอบหมายงาน การปฐมนิเทศหรือสร้างความคุ้นเคยกับงาน และการประเมินผลว่าบุคลากรทำตามหน้าที่รับผิดชอบได้ดีเพียงใด
คำบรรยายลักษณะงาน มีความจำเป็นสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพสุขภาพ ในกรณีต่อไปนี้
a) บุคคลซึ่งมีบทบาทหลักในการบริหารจัดการ เช่น ผู้จัดการแผนก หรือผู้ที่มีหน้าที่ควบคู่กันทั้งด้านคลินิกและด้านบริหารจัดการ โดยระบุหน้าที่รับผิดชอบด้านการบริหารจัดการไว้ในคำบรรยายลักษณะงาน
b) บุคคลซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบทางด้านคลินิกที่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้ปฏิบัติด้วยตนเองตามลำพัง เช่น ผู้ประกอบวิชาชีพที่กำลังเรียนรู้บทบาทใหม่หรือทักษะใหม่
c) บุคคลซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาและอยู่ภายใต้การควบคุมดูแล ซึ่งโปรแกรมการศึกษาจะระบุว่าสิ่งใดที่สามารถทำได้โดยอิสระ สิ่งใดที่ต้องทำภายใต้การควบคุมดูแล ในแต่ละขั้นตอนหรือระดับของการฝึกอบรม รายละเอียดของโปรแกรมการศึกษาสามารถใช้เป็นคำบรรยายลักษณะงานได้ในกรณีดังกล่าว และ
d) บุคคลที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานให้บริการในองค์กรชั่วคราว เช่น พยาบาลจากหน่วยงานจัดหาบุคลากรชั่วคราว (ดูที่ SQE.10)
เมื่อองค์กรใช้คำบรรยายลักษณะงานทั่วไปหรือของประเทศ เช่น คำบรรยายลักษณะงานสำหรับ “พยาบาล” จำเป็นต้องปรับคำบรรยายลักษณะงานลักษณะนี้ด้วยหน้าที่รับผิดชอบที่มีความเฉพาะเจาะจงสำหรับพยาบาลประเภทต่างๆ เช่น พยาบาลหน่วยดูแลผู้ป่วยวิกฤติ พยาบาลเด็ก พยาบาลห้องผ่าตัด และอื่นๆ | สำหรับบุคคลที่ได้รับอนุญาตโดยกฎหมายและโดยองค์กรให้ทำงานอย่างอิสระ มีกระบวนการที่จะระบุและให้สิทธิการปฏิบัติแก่บุคคลบนพื้นฐานของการศึกษา การฝึกอบรม และประสบการณ์ (ดูที่ SQE.9) | ข้อกำหนดของมาตรฐานนี้ประยุกต์ใช้กับ “บุคลากร (staff)” ทุกประเภท ผู้ซึ่งต้องมีคำบรรยายลักษณะงาน (เช่น บุคลากรประจำ พนักงานชั่วคราว ผู้ได้รับค่าจ้าง อาสาสมัคร หรือบุคลากรชั่วคราว) (ดูที่ PCI.1)
องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ SQE.1.1
Ο 1. มีคำบรรยายลักษณะงานสำหรับบุคลากรที่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้ปฏิบัติงานอย่างอิสระ
Ο 2. มีคำบรรยายลักษณะงานสำหรับบุคลากรที่ระบุไว้ในเจตนาข้อ a) ถึง d) ที่มาทำงานในองค์กรอย่างเหมาะสมกับกิจกรรมและหน้าที่รับผิดชอบของบุคลากรดังกล่าว หรือได้รับสิทธิการดูแลถ้ามีระบุไว้เป็นทางเลือก (ดูที่ AOP.3, ME 1)
Ο 3. คำบรรยายลักษณะงานเป็นปัจจุบันตามนโยบายขององค์กร
มาตรฐาน SQE.2
ผู้นำองค์กรจัดทำและนำไปปฏิบัติ ซึ่งกระบวนการสำหรับการสรรหา การประเมินคุณสมบัติ และการบรรจุบุคลากร รวมถึงวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ที่องค์กรกำหนด
เจตนาของ SQE.2
องค์กรจัดให้มีกระบวนการที่มีประสิทธิภาพ อาจเป็นลักษณะประสานความร่วมมือหรือรวมศูนย์ สำหรับ
- การสรรหาบุคคลสำหรับตำแหน่งงานที่ว่าง
- การประเมินการฝึกอบรม ทักษะ และความรู้ของผู้สมัคร และ
- การบรรจุบุคคลเป็นบุคลากรขององค์กร
มีการใช้เกณฑ์ กระบวนการ และแบบฟอร์ม เพื่อให้มีกระบวนการที่เป็นแนวทางเดียวกัน ในกรณีที่ไม่มีการรวมศูนย์กระบวนการดังกล่าวสำหรับบุคลากรที่มีตำแหน่งคล้ายกัน เช่น พยาบาลหรือนักกายภาพบำบัด | ผู้บริหารของแผนกและงานบริการมีส่วนร่วมโดยการให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับจำนวนและคุณสมบัติของบุคลากรที่ต้องการเพื่อให้บริการทางคลินิกแก่ผู้ป่วย การทำหน้าที่สนับสนุนที่มิใช่งานด้านคลินิก และทำหน้าที่สอน วิจัยหรือหน้าที่อื่นๆ ของแผนก | ผู้บริหารของแผนกและงานบริการช่วยตัดสินใจเกี่ยวกับตัวบุคคลที่จะได้รับการบรรจุเป็นบุคลากร | ดังนั้น มาตรฐานในบทนี้จึงเป็นส่วนเสริมให้แก่มาตรฐานการกำกับดูแลกิจการ การนำ และทิศทางองค์กร (GLD) ซึ่งอธิบายหน้าที่รับผิดชอบของผู้บริหารแผนกหรืองานบริการ
องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ SQE.2
Ο 1. มีกระบวนการที่พร้อมปฏิบัติในการสรรหาบุคลากร
Ο 2. มีกระบวนการที่พร้อมปฏิบัติในการประเมินคุณสมบัติของบุคลากรไหม่
Ο 3. มีกระบวนการที่พร้อมปฏิบัติในการบรรจุบุคคลเป็นบุคลากร
Ο 4. กระบวนการดังกล่าวเป็นไปในแนวทางเดียวทั้งองค์กร
มาตรฐาน SQE.3
องค์กรใช้กระบวนการที่กำหนดไว้เพื่อสร้างความมั่นใจว่าความรู้และทักษะของบุคลากรสายงานคลินิก สอดคล้องกับความต้องการของผู้ป่วย
เจตนาของ SQE.3
องค์กรจ้างบุคลากรที่มีคุณสมบัติเหมาะสมโดยใช้กระบวนการที่ทำให้มั่นใจว่าคุณสมบัติของบุคคลที่จะรับเป็นบุคลากรสอดคล้องกับข้อกำหนดของตำแหน่ง | กระบวนนี้ยังสร้างความมั่นใจว่าทักษะของบุคลากรสอดคล้องกับความต้องการของผู้ป่วยตั้งแต่เริ่มแรกและตลอดระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน
สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพสุขภาพขององค์กรที่เป็นอิสระ (ซึ่งมิได้ปฏิบัติงานภายใต้คำบรรยายลักษณะงาน) มีกระบวนการระบุไว้ใน SQE.9 ถึง SQE.12
กระบวนการสำหรับบุคลากรสายงานคลินิกที่ปฏิบัติงานภายใต้คำบรรยายลักษณะงานประกอบด้วย
- การประเมินขั้นต้นเพื่อสร้างความมั่นใจว่าบุคคลผู้นั้นสามารถปฏิบัติตามหน้าที่รับผิดชอบในคำบรรยายลักษณะงานได้ | การประเมินนี้กระทำขึ้นก่อนหรือในเวลาที่จะเริ่มต้นปฏิบัติตามหน้าที่รับผิดชอบ | องค์กรอาจจะมีระยะเวลา “ทดลองปฏิบัติงาน” ซึ่งบุคลากรสายงานคลินิกจะได้รับการควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด และประเมินผล หรือใช้กระบวนการที่ไม่เป็นทางการมากนัก | ไม่ว่าจะใช้กระบวนการใด องค์กรสร้างความมั่นใจว่าบุคลากรที่ให้บริการที่มีความเสี่ยงสูงหรือให้การดูแลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงได้รับการประเมิน
- จากนั้นองค์กรกำหนดกระบวนการและความถี่สำหรับการประเมินความสามารถของบุคลากรอย่างต่อเนื่อง
การประเมินอย่างต่อเนื่องสร้างความมั่นใจว่ามีการฝึกอบรมเมื่อต้องการ และบุคลากรสามารถปฏิบัติตามหน้าที่ใหม่หรือหน้าที่ที่เปลี่ยนแปลงได้ | การประเมินดังกล่าวจะดีที่สุดเมื่อดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ควรมีการประเมินบุคลากรสายงานคลินิกที่ทำงานภายใต้คำอธิบายลักษณะงานแต่ละคนและบันทึกไว้อย่างน้อยปีละครั้ง (ดูที่ COP.3.1, ASC.3.1, MMU.6, GLD.11.1, และ SQE.11)
องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ SQE.3
Ο 1. องค์กรใช้กระบวนการที่กำหนดไว้เพื่อจัดให้ความรู้และทักษะของบุคลากรสายงานคลินิก กับความต้องการของผู้ป่วย มีความสอดคล้องกัน
Ο 2. มีการประเมินบุคลากรใหม่ในสายงานคลินิกเมื่อเริ่มปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบ
Ο 3. แผนกหรืองานบริการที่บุคลากรได้รับมอบหมายให้ไปปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ทำการประเมิน
Ο 4. องค์กรกำหนดความถี่ในการประเมินบุคลากรสายงานคลินิกอย่างต่อเนื่อง
Ο 5. มีการประเมินบุคลากรสายงานคลินิกแต่ละคนที่ปฏิบัติงานภายใต้คำบรรยายลักษณะงานอย่างน้อยปีละครั้งหรือบ่อยกว่าตามที่องค์กรกำหนด และบันทึกผลไว้
มาตรฐาน SQE.4
องค์กรใช้กระบวนการที่กำหนดไว้เพื่อสร้างความมั่นใจว่าความรู้และทักษะของบุคลากรนอกสายงานคลินิก สอดคล้องกับความต้องการขององค์กร และข้อกำหนดของตำแหน่ง
เจตนาของ SQE.4
องค์กรแสวงหาบุคลากรที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามข้อกำหนดในตำแหน่งนอกสายงานคลินิก | ผู้ควบคุมดูแลบุคลากรจัดให้มีการปฐมนิเทศเพื่อสร้างความคุ้นเคยกับตำแหน่งดังกล่าวและสร้างความมั่นใจว่าบุคลากรสามารถทำหน้าที่รับผิดชอบตามคำบรรยายลักษณะงานได้ | บุคลากรได้รับการควบคุมดูแลในระดับที่ต้องการ และได้รับการประเมินเป็นระยะเพื่อสร้างความมั่นใจว่ามีความสามารถในตำแหน่งดังกล่าวตลอดเวลา (ดูที่ AOP.5.2, AOP.6.2)
องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ SQE.4
Ο 1. องค์กรใช้กระบวนการที่กำหนดไว้เพื่อจัดให้ความรู้และทักษะของบุคลากรนอกสายงานคลินิก กับข้อกำหนดของตำแหน่ง มีความสอดคล้องกัน
Ο 2. มีการประเมินบุคลากรใหม่ที่มิใช่ด้านคลินิก เมื่อเริ่มปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบ
Ο 3. แผนกหรืองานบริการที่บุคลากรได้รับมอบหมายให้ไปปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ทำการประเมิน
Ο 4. องค์กรกำหนดความถี่ในการประเมินบุคลากรที่มิใช่ด้านคลินิกอย่างต่อเนื่อง
Ο 5. มีการประเมินบุคลากรที่มิใช่ด้านคลินิกอย่างน้อยปีละครั้งหรือบ่อยกว่าตามที่องค์กรกำหนด และบันทึกผลไว้
มาตรฐาน SQE.5
มีแฟ้มข้อมูลส่วนบุคคลของบุคลากรแต่ละคน ℗
เจตนาของ SQE.5
บุคลากรแต่ละคนในองค์กร รวมถึงผู้ที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายและโดยองค์กรให้ทำงานด้วยความอิสระ มีเอกสารข้อมูลเกี่ยวกับคุณสมบัติ ผลการประเมิน และประวัติการทำงาน | เอกสารมีรูปแบบมาตรฐานและมีความเป็นปัจจุบันตามนโยบายขององค์กร (ดูที่ SQE.9, SQE.13, และ SQE.15)
องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ SQE.5
Ο 1. มีการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของบุคลากรแต่ละคน
Ο 2. แฟ้มข้อมูลส่วนบุคคลมีคุณสมบัติของบุคลากรผู้นั้น
Ο 3. แฟ้มข้อมูลส่วนบุคคลมีคำบรรยายลักษณะงานของบุคลากรผู้นั้น ถ้ามีกำหนดไว้
Ο 4. แฟ้มข้อมูลส่วนบุคคลมีประวัติการทำงานของบุคลากรผู้นั้น
Ο 5. แฟ้มข้อมูลส่วนบุคคลมีผลการประเมิน
Ο 6. แฟ้มข้อมูลส่วนบุคคลมีบันทึกการเข้าร่วมการศึกษาระหว่างประจำการของบุคลากรผู้นั้น
มาตรฐาน SQE.6
แผนบุคลากรขององค์กรซึ่งจัดทำด้วยความร่วมมือของผู้นำของแผนกและงานบริการ กำหนดจำนวน ประเภท และคุณสมบัติที่ต้องการของบุคลากร ℗
มาตรฐาน SQE.6.1
มีการทบทวนแผนบุคลากรอย่างต่อเนื่อง และปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันตามความจำเป็น
เจตนาของ SQE.6 และ SQE.6.1
การจัดให้มีบุคลากรที่เหมาะสมและเพียงพอเป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อการดูแลผู้ป่วย เช่นเดียวกับกิจกรรมการสอน และการวิจัยซึ่งองค์กรอาจจะมีส่วนร่วม | ผู้นำองค์กรเป็นผู้วางแผนบุคลากร | กระบวนการวางแผนใช้วิธีการซึ่งเป็นที่ยอมรับสำหรับการกำหนดระดับของบุคลากร | ตัวอย่างเช่น การใช้ระบบการจำแนกอาการหนัก-เบาของผู้ป่วย (patient acuity system) ในการกำหนดจำนวนพยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยวิกฤติสาขากุมารสำหรับหอผู้ป่วยวิกฤติกุมารสิบเตียง
มีการจัดทำแผนเป็นลายลักษณ์อักษร ระบุจำนวนและประเภทของบุคลากรที่ต้องการในแต่ละแผนกและงานบริการ รวมทั้งทักษะ ความรู้ และคุณสมบัติอื่นๆ | แผนบุคลากรระบุสิ่งต่อไปนี้
– การปรับเปลี่ยนการมอบหมายงานบุคลากรจากแผนกหรืองานบริการหนึ่งไปยังอีกแผนกหรืออีกงานบริการหนึ่ง เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้ป่วยที่เปลี่ยนแปลงไปหรือการขาดแคลนบุคลากร
– การพิจารณาคำขอของบุคลากรเพื่อให้มีการปรับเปลี่ยนการมอบหมายงาน บนพื้นฐานของค่านิยมทางวัฒนธรรมหรือความเชื่อทางศาสนา และ
– การปฏิบัติตามนโยบายและระเบียบข้อบังคับ
มีการเฝ้าติดตามการจัดบุคลากรที่วางแผนไว้และที่เกิดขึ้นจริงอย่างต่อเนื่อง และมีการปรับปรุงแผนตามความจำเป็น | ระหว่างที่มีการเฝ้าติดตามในระดับแผนกและงานบริการ มีกระบวนการที่ผู้นำองค์กรร่วมมือกันปรับปรุงแผนทั้งหมดโดยรวม (ดูที่ GLD.7 และ GLD.9, ME 2)
องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ SQE.6
Ο 1. มีแผนเป็นลายลักษณ์อักษรสำหรับการจัดบุคลากรขององค์กรโดยผู้นำของแผนกและงานบริการ โดยปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
Ο 2. แผนบุคลากรระบุจำนวน ประเภท และคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของบุคลากร โดยใช้วิธีการจัดอัตรากำลังซึ่งเป็นที่ยอมรับ (ดูที่ AOP.6.2, ME 5)
Ο 3. แผนบุคลากรระบุการมอบหมายงานและการปรับเปลี่ยนการมอบหมายงานบุคลากร
องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ SQE.6.1
Ο 1. มีการเฝ้าติดตามประสิทธิผลของแผนการจัดบุคลากรอย่างต่อเนื่อง
Ο 2. มีการทบทวนและปรับปรุงแผนการจัดบุคลากรเมื่อจำเป็น
Ο 3. มีกระบวนการประสานงานเพื่อจัดทำกลยุทธ์ซึ่งเกี่ยวข้องกับผู้นำของแผนกและงานบริการ
มาตรฐาน SQE.7
บุคลากรทุกคนทั้งสายงานคลินิกและนอกสายงานคลินิก ได้รับการปฐมนิเทศเมื่อได้รับการบรรจุ ให้เกิดความคุ้นเคยกับองค์กร แผนกหรือหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงาน และเกิดความคุ้นเคยกับหน้าที่รับผิดชอบเฉพาะของตำแหน่งงาน
เจตนาของ SQE.7
การตัดสินใจบรรจุบุคคลเป็นบุคลากรขององค์กรก่อให้เกิดการเริ่มต้นของกระบวนการหลายอย่าง | การที่บุคลากรใหม่ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งใดจะปฏิบัติงานได้ดี จำเป็นต้องเข้าใจภาพรวมขององค์กร และเข้าใจว่าหน้าที่รับผิดชอบเฉพาะของตนจะมีผลต่อการบรรลุเป้าหมายขององค์กรอย่างไร | สิ่งนี้จะบรรลุได้โดยการปฐมนิเทศทั่วไปให้เกิดความคุ้นเคยกับองค์กรและบทบาทของตนในองค์กร และการปฐมนิเทศเฉพาะเกี่ยวกับหน้าที่รับผิดชอบของตำแหน่งที่ได้รับการบรรจุ | การปฐมนิเทศรวมถึงประเด็นต่อไปนี้ตามความเหมาะสม การรายงานความผิดพลั้งทางการแพทย์ การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ นโยบายขององค์กรเกี่ยวกับการสั่งยาทางโทรศัพท์ และอื่นๆ (ดูที่ PCI.11 และ GLD.9, ME 4) | ผู้ปฏิบัติงานตามสัญญาจ้าง (contract workers) อาสาสมัคร และนักศึกษาและผู้อยู่ระหว่างการฝึกอบรม ได้รับการปฐมนิเทศให้เกิดความคุ้นเคยกับองค์กร และงานที่ได้รับมอบหมายหรือหน้าที่รับผิดชอบเฉพาะ เช่น ความปลอดภัยผู้ป่วย การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ
องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ SQE.7
Ο 1. บุคลากรใหม่ทั้งสายงานคลินิกและนอกสายงานคลินิก ได้รับการปฐมนิเทศเพื่อให้เกิดความคุ้นเคยกับองค์กร แผนกหรือหน่วยงานซึ่งได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงาน หน้าที่รับผิดชอบของตำแหน่งงานของแต่ละคน และงานที่ได้รับมอบหมายเฉพาะ
Ο 2. ผู้ปฏิบัติงานตามสัญญาจ้าง ได้รับการปฐมนิเทศเพื่อให้เกิดความคุ้นเคยกับองค์กร แผนกหรือหน่วยงานซึ่งได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงาน หน้าที่รับผิดชอบของตำแหน่งงานของแต่ละคน และงานที่ได้รับมอบหมายเฉพาะ
Ο 3. อาสาสมัคร ได้รับการปฐมนิเทศเพื่อให้เกิดความคุ้นเคยกับองค์กร และหน้าที่รับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย
Ο 4. นักศึกษาและผู้อยู่ระหว่างฝึกอบรม ได้รับการปฐมนิเทศเพื่อให้เกิดความคุ้นเคยกับองค์กร และหน้าที่รับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย
มาตรฐาน SQE.8
บุคลากรแต่ละคนได้รับการศึกษาและฝึกอบรมระหว่างประจำการ รวมถึงการศึกษาและฝึกอบรมอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อคงไว้หรือเพิ่มพูนทักษะและความรู้ของตน
เจตนาของ SQE.8
องค์กรรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เพื่อให้เข้าใจความต้องการการศึกษาของบุคลากรอย่างต่อเนื่อง | ผลจากการวัดคุณภาพและความปลอดภัยเป็นแหล่งข้อมูลหนึ่งที่ช่วยระบุความต้องการการศึกษาของบุคลากร | ข้อมูลการเฝ้าติดตามจากโปรแกรมบริหารอาคารสถานที่ การนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ ประเด็นความรู้และทักษะที่ค้นพบจากการทบทวนการปฏิบัติงานตามหน้าที่ วิธีปฏิบัติงานทางคลินิกใหม่ และแผนจัดบริการใหม่ในอนาคต เป็นแหล่งข้อมูลดังกล่าวด้วยเช่นกัน | องค์กรมีกระบวนการรวบรวมและรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เพื่อวางแผนโปรแกรมการศึกษาของบุคลากร | องค์กรกำหนดว่าบุคลากรกลุ่มใด เช่น ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ ที่จะต้องมีการศึกษาต่อเนื่องเพื่อคงไว้ซึ่งคุณสมบัติ รวมถึงวิธีการเฝ้าติดตามและบันทึกการศึกษาของบุคลากรเหล่านี้ (ดูที่ GLD.3.3, ME 3)
เพื่อคงไว้ซึ่งผลการปฏิบัติงานของบุคลากรที่ยอมรับได้ การสอนทักษะใหม่ๆ และการจัดฝึกอบรมเกี่ยวกับเครื่องมือหรือวิธีปฏิบัติงานใหม่ๆ องค์กรควรจัดให้มีสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก ผู้ให้ความรู้ และเวลา สำหรับการศึกษาระหว่างประจำการและการศึกษาอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง | การจัดการศึกษานี้สอดคล้องกับความต้องการของบุคลากรแต่ละคน และสอดคล้องกับความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องขององค์กรในการตอบสนองความต้องการของผู้ป่วย | ตัวอย่างเช่น สมาชิกแพทย์อาจได้รับการศึกษาเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ ความก้าวหน้าของเวชปฏิบัติหรือเทคโนโลยีใหม่ (ดูที่ MOI.8) | มีการบันทึกความสำเร็จด้านการศึกษาของบุคลากรแต่ละคนไว้ในแฟ้มข้อมูลส่วนบุคคล
ผู้นำองค์กรสนับสนุนความมุ่งมั่นต่อการศึกษาระหว่างประจำการอย่างต่อเนื่องของบุคลากร โดยจัดให้มีพื้นที่ เครื่องมือ และเวลาสำหรับโปรแกรมการศึกษาและฝึกอบรม | มีสารสนเทศทางวิชาการที่เป็นปัจจุบันพร้อมสนับสนุนการศึกษาและฝึกอบรม | การศึกษาและฝึกอบรมสามารถทำได้ในสถานที่ที่เป็นศูนย์กลาง หรือสถานที่สำหรับการเรียนรู้และพัฒนาทักษะขนาดเล็กลงมาที่กระจายทั่วไป | การศึกษาที่จัดให้อาจจะเป็นการจัดครั้งเดียวให้กับทุกคน หรือจัดซํ้าหลายครั้งสำหรับบุคลากรที่ทำงานเป็นผลัด เพื่อลดผลกระทบต่อกิจกรรมการดูแลผู้ป่วย
องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ SQE.8
Ο 1. มีการใช้ข้อมูลและสารสนเทศจากแหล่งต่างๆ รวมถึงผลจากกิจกรรมวัดคุณภาพและความปลอดภัย เพื่อระบุความต้องการการศึกษาของบุคลากร
Ο 2. มีการวางแผนโปรแกรมการศึกษาจากข้อมูลและสารสนเทศเหล่านี้
Ο 3. บุคลากรขององค์กรได้รับการศึกษาและฝึกอบรมระหว่างประจำการอย่างต่อเนื่อง (ดูที่ AOP.5.3, ME 4 และ AOP.6.3, ME 4)
Ο 4. การศึกษาสอดคล้องกับความสามารถของบุคลากรแต่ละคนที่จะตอบสนองภาวะความต้องการของผู้ป่วย และ/หรือ ความต้องการการศึกษาต่อเนื่อง (ดูที่ AOP.5.3, ME 4 และ AOP.6.3, ME 4)
Ο 5. องค์กรจัดให้บุคลากรทุกคนมีเวลาและเครื่องมือเพียงพอที่จะเข้าร่วมการศึกษาและฝึกอบรมที่เกี่ยวข้อง
มาตรฐาน SQE.8.1
บุคลากรซึ่งให้การดูแลผู้ป่วย และบุคลากรอื่นๆ ที่องค์กรระบุ ได้รับการฝึกอบรมและแสดงความสามารถที่เหมาะสม เกี่ยวกับเทคนิคการช่วยฟื้นคืนชีพ
เจตนาของ SQE.8.1
องค์กรระบุบุคลากรที่ต้องเข้าอบรมเทคนิคการช่วยฟื้นคืนชีพ และระดับของการฝึกอบรม (ระดับพื้นฐานหรือระดับก้าวหน้า) ที่เหมาะสมกับบทบาทของแต่ละคนในองค์กร | บุคลากรที่ถูกระบุได้รับการฝึกอบรมในระดับที่เหมาะสมซํ้าตามข้อกำหนด และ/หรือ กรอบเวลาที่โปรแกรมฝึกอบรมซึ่งเป็นที่ยอมรับระบุไว้ หรือทุกสองปีถ้ามิได้มีการใช้โปรแกรมฝึกอบรมซึ่งเป็นที่ยอมรับ | มีหลักฐานแสดงว่าบุคลากรแต่ละคนที่เข้าร่วมรับการฝึกอบรมบรรลุความสามารถในระดับที่ต้องการอย่างแท้จริง (ดูที่ COP.3.2)
องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ SQE.8.1
Ο 1. องค์กรระบุบุคลากรที่มีหน้าที่ดูแลผู้ป่วย และบุคลากรอื่นๆ ที่จะต้องเข้ารับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการช่วยชีวิต (cardiac life support)
Ο 2. มีการจัดการฝึกอบรมในระดับที่เหมาะสม โดยมีความถี่ที่เพียงพอสำหรับตอบสนองความต้องการของบุคลากร
Ο 3. มีหลักฐานแสดงว่าบุคลากรผู้ใดได้ผ่านการฝึกอบรม
Ο 4. มีการฝึกอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพในระดับที่พึงประสงค์ให้แก่บุคลากรแต่ละคนซํ้า ตามข้อกำหนด และ/หรือ กรอบเวลาที่โปรแกรมฝึกอบรมซึ่งเป็นที่ยอมรับระบุไว้ หรือทุกสองปีถ้ามิได้มีการใช้โปรแกรมฝึกอบรมซึ่งเป็นที่ยอมรับ
มาตรฐาน SQE.8.2
องค์กรจัดให้มีโปรแกรมสุขภาพและความปลอดภัยของบุคลากร ℗
เจตนาของ SQE.8.2
สุขภาพและความปลอดภัยของบุคลากรในองค์กรเป็นสิ่งสำคัญเพื่อคงไว้ซึ่งสุขภาพทางร่างกายและจิตใจ ความพึงพอใจ การผลิตผลงานของบุคลากร และภาวะความปลอดภัยสำหรับการทำงาน | เนื่องจาก บุคลากรด้านดูแลสุขภาพส่วนใหญ่มีการสัมผัสกับผู้ป่วยและวัสดุติดเชื้อจากผู้ป่วย ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงต่อโรคที่วัคซีนป้องกันได้ | การระบุการติดเชื้อที่สำคัญ กำหนดบุคลากรที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ และมีการดำเนินการคัดกรองและป้องกัน (เช่น การสร้างภูมิคุ้มกัน การฉีดวัคซีน และการป้องกันโรค) จะช่วยลดอุบัติการณ์การส่งผ่านการติดเชื้อได้อย่างมาก (ดูที่ PCI.5, ME 2)
ความรุนแรงในสถานที่ทำงานเป็นปัญหาที่พบบ่อยมากขึ้นในองค์กรดูแลสุขภาพ | การขาดแคลนบุคลากร การเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยหนัก และความเข้าใจผิดว่าความรุนแรงไม่ได้เกิดขึ้นในองค์กรดูแลสุขภาพ – หรือถ้าความรุนแรงเกิดขึ้น เป็นส่วนหนึ่งของงาน – เป็นอุปสรรคที่จะยอมรับว่าการใช้ความรุนแรงในที่ทำงานมีอยู่และจัดทำการป้องกันความรุนแรง (ดูที่ QPS.7)
ความปลอดภัยของบุคลากรเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมคุณภาพและความปลอดภัยขององค์กร | วิธีการที่องค์กรสร้างความคุ้นเคยและฝึกอบรมบุคลากร จัดให้มีสถานที่ที่ปลอดภัย บำรุงรักษาเครื่องมือด้านชีวการแพทย์และเครื่องมืออื่นๆ ป้องกันหรือควบคุมการติดเชื้อเนื่องจากบริการสุขภาพ และปัจจัยอื่นๆ อีกมาก เป็นตัวกำหนดสุขภาวะของบุคลากร (ดูที่ PCI.5.1, ME 2) | โปรแกรมสุขภาพและความปลอดภัยของบุคลากรสามารถจัดขึ้นภายในองค์กรหรือบูรณาการกับโปรแกรมภายนอก | ไม่ว่าจะมีบุคลากรหรือโครงสร้างของโปรแกรมอย่างไร บุคลากรเข้าใจวิธีการรายงาน การได้รับการรักษา การได้รับคำปรึกษาและติดตามสำหรับการบาดเจ็บ (เช่น โดนเข็มแทง) การสัมผัสโรคติดต่อ หรือความรุนแรงในที่ทำงาน การบ่งชี้ความเสี่ยงและสภาพที่อันตรายภายในอาคารสถานที่ ประเด็นด้านสุขภาพและความปลอดภัยอื่นๆ | โปรแกรมสุขภาพและความปลอดภัยของบุคลากรอาจจัดให้มีการคัดกรองสุขภาพเมื่อแรกเข้าทำงาน การให้ภูมิคุ้มกันและการตรวจร่างกายเป็นระยะ การรักษาการเจ็บป่วยที่เกิดจากการทำงาน เช่น ปวดหลัง หรือการบาดเจ็บอื่นที่เร่งด่วนกว่า
การออกแบบโปรแกรมดังกล่าวได้รับข้อคิดเห็นจากบุคลากร ใช้ทรัพยากรทางคลินิกขององค์กรและชุมชน
องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ SQE.8.2
Ο 1. ผู้นำองค์กรและบุคลากรวางแผนโปรแกรมสุขภาพและความปลอดภัยของบุคลากร ตอบสนองความต้องการของบุคลากรทั้งที่เร่งด่วนและไม่เร่งด่วนด้วยการรักษาโดยตรงและการส่งต่อ
Ο 2. มีการระบุการติดเชื้อที่กำลังระบาด และบุคลากรที่มีความเสี่ยงต่อการสัมผัสหรือส่งผ่านการติดเชื้อ และดำเนินการฉีดวัคซีนและการสร้างภูมิคุ้มกัน
Ο 3. มีนโยบายในการประเมิน ให้คำปรึกษา และติดตามบุคลากรที่ได้สัมผัสกับโรคติดต่อ ซึ่งมีการประสานงานกับโปรแกรมป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ
Ο 4. มีการระบุพื้นที่ที่ที่มีความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นในที่ทำงานและจัดทำตัววัดเพื่อลดความเสี่ยง
Ο 5. มีนโยบายในการประเมิน ให้คำปรึกษา และติดตามบุคลากรที่ได้รับบาดเจ็บเนื่องจากความรุนแรงในสถานที่ทำงาน
SQE – การวางแผน | การกำหนดสมาชิกภาพของบุคลากรสายแพทย์ | การกำหนดสิทธิทางคลินิกของบุคลากรสายแพทย์ | การตรวจสอบและประเมินผลบุคลากรสายแพทย์อย่างต่อเนื่อง | การแต่งตั้งบุคลากรสายแพทย์ใหม่และการต่ออายุสิทธิทางคลินิก | บุคลากรสายพยาบาล | ผู้ประกอบวิชาชีพด้านบริการสุขภาพอื่น