fbpx
WeLoveMed.com

ACC การโอนย้ายผู้ป่วย

การโอนย้ายผู้ป่วย (Transfer of Patients)

มาตรฐาน ACC.5
ผู้ป่วยได้รับการโอนย้ายไปยังองค์กรอื่นตามระดับการเจ็บป่วยและความต้องการที่จำเป็น เพื่อตอบสนองความต้องการการดูแลต่อเนื่องของผู้ป่วย

เจตนาของ ACC.5
การโอนย้ายผู้ป่วยไปยังองค์กรภายนอกขึ้นกับสภาวะของผู้ป่วยและความต้องการการดูแลต่อเนื่อง | การโอนย้ายนั้นอาจเป็นการตอบสนองต่อความต้องการของผู้ป่วยสำหรับการขอรับคำปรึกษาและการรักษาเฉพาะทาง การบริการที่เร่งด่วน หรือบริการผู้ป่วยที่ใช้ทรัพยากรน้อยกว่า เช่น การดูแลกึ่งเฉียบพลัน หรือ การฟื้นฟูระยะยาว | มีความจำเป็นต้องมีกระบวนการส่งต่อเพื่อให้มั่นใจว่าสามารถตอบสนองความต้องการการดูแลต่อเนื่องของผู้ป่วย

เมื่อส่งต่อผู้ป่วยไปยังองค์กรอื่น องค์กรที่ส่งต้องพิจารณาว่าองค์กรที่รับผู้ป่วยสามารถให้บริการที่ตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยและมีศักยภาพที่จะรับผู้ป่วยได้ | การพิจารณานี้โดยปกติจะกระทำล่วงหน้า และมีการระบุความเต็มใจในการรับผู้ป่วย รวมทั้งเงื่อนไขการโอนย้ายในข้อตกลงความร่วมมือที่เป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ | การพิจารณาล่วงหน้าจะทำให้มั่นใจในการดูแลต่อเนื่องและการที่ความต้องการของผู้ป่วยได้รับการตอบสนอง | การส่งต่อผู้ป่วยอาจเกิดขึ้นที่แหล่งการรักษาหรือบริการเฉพาะทางอื่นๆ โดยปราศจากข้อตกลงความร่วมมือที่เป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ ACC.5
Ο 1. องค์กรกำหนดการโอนย้ายผู้ป่วยขึ้นกับความต้องการสำหรับการดูแลต่อเนื่องของผู้ป่วย
Ο 2. องค์กรที่ส่งพิจารณาว่าองค์กรที่รับผู้ป่วยสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยที่จะโอนย้ายได้
Ο 3. มีการจัดทำข้อตกลงที่เป็นทางการหรือไม่เป็นทางการกับองค์กรที่จะรับผู้ป่วย เมื่อมีการโอนย้ายผู้ป่วยไปยังองค์กรดังกล่าวเป็นประจำ


มาตรฐาน ACC.5.1
องค์กรที่ส่งผู้ป่วยจัดทำกระบวนการโอนย้ายผู้ป่วยเพื่อให้มั่นใจว่าผู้ป่วยปลอดภัยจากการโอนย้าย

เจตนาของ ACC.5
การโอนย้ายผู้ป่วยไปยังอีกสถานพยาบาลหนึ่ง อาจเป็นกระบวนการสั้นๆ สำหรับผู้ป่วยที่รู้สึกตัวดีพูดคุยได้ หรืออาจเป็นการโอนย้ายผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัวซึ่งต้องการการดูแลทางการแพทย์หรือการพยาบาลอย่างต่อเนื่อง | ไม่ว่าจะเป็นกรณีใด จำเป็นต้องมีการเฝ้าติดตามผู้ป่วย (monitoring) โดยคุณสมบัติของบุคลากรที่ทำหน้าที่ดังกล่าวจะมีความแตกต่างกันในแต่ละกรณี | ดังนั้นสภาวะของผู้ป่วยจึงเป็นตัวกำหนดคุณสมบัติที่เหมาะสมของบุคลากรที่เฝ้าติดตามผู้ป่วยขณะโอนย้าย

มีกระบวนการที่สอดคล้องกันสำหรับวิธีการโอนย้ายผู้ป่วยจากองค์กรหนึ่งไปสู่อีกองค์กรหนึ่งเพื่อให้มั่นใจว่าผู้ป่วยปลอดภัยจากการโอนย้าย | กระบวนการดังกล่าว ได้แก่

– วิธีการส่งมอบความรับผิดชอบระหว่างผู้ให้บริการสุขภาพและ ลักษณะแวดล้อม (setting)
– เกณฑ์บ่งชี้ว่าเมื่อไรที่จำเป็นต้องโอนย้ายเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ป่วย
– ผู้รับผิดชอบดูแลผู้ป่วยระหว่างการโอนย้าย
– ยา อุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ต้องการระหว่างการโอนย้าย
– กลไกในการติดตามสภาวะผู้ป่วยระหว่างการโอนย้าย และเมื่อมาถึงองค์กรที่รับผู้ป่วย และ
– สิ่งที่ต้องดำเนินการเมื่อไม่สามารถโอนย้ายผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลอื่น

องค์กรประเมินคุณภาพและความปลอดภัยของกระบวนการโอนย้าย เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ป่วยโอนย้ายโดยบุคลากรที่มีคุณสมบัติ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่เหมาะสมกับสภาวะของผู้ป่วย

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ ACC.5.1
Ο 1. องค์กรจัดทำกระบวนการโอนย้ายคำนึงถึงวิธีการส่งมอบหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลต่อเนื่องไปยังผู้ให้บริการสุขภาพหรือ ลักษณะแวดล้อม (setting) อื่น
Ο 2. กระบวนการโอนย้ายคำนึงถึงผู้รับผิดชอบดูแลผู้ป่วยระหว่างการโอนย้าย และบุคลากรที่รับผิดชอบดังกล่าวมีคุณสมบัติเหมาะสมกับสภาวะของผู้ป่วย
Ο 3. กระบวนการโอนย้ายคำนึงถึงยา อุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ต้องการระหว่างการโอนย้าย
Ο 4. กระบวนการโอนย้ายคำนึงถึงกลไกในการติดตามสภาวะผู้ป่วยระหว่างการโอนย้าย และเมื่อมาถึงองค์กรที่รับผู้ป่วย
Ο 5. กระบวนการโอนย้ายคำนึงถึงสถานการณ์ที่ไม่สามารถโอนย้ายผู้ป่วยได้
Ο 6. มีการประเมินคุณภาพและความปลอดภัยของกระบวนการโอนย้าย


มาตรฐาน ACC.5.2
องค์กรที่รับผู้ป่วย ได้รับสรุปสภาวะทางคลินิกของผู้ป่วยและปฏิบัติการดูแลที่ให้แก่ผู้ป่วยโดยองค์กรที่ส่งผู้ป่วย เป็นลายลักษณ์อักษร

เจตนาของ ACC.5.2
สารสนเทศของผู้ป่วยจะถูกส่งไปพร้อมกับผู้ป่วยเพื่อให้มั่นใจในการดูแลต่อเนื่อง | มีการส่งมอบสำเนาสรุปข้อมูลเมื่อจำหน่ายหรือสรุปข้อมูลทางคลินิกเป็นลายลักษณ์อักษรอื่นๆ ให้แก่องค์กรที่รับย้ายพร้อมกับผู้ป่วย | ข้อมูลสรุปดังกล่าวหมายรวมถึงสภาวะทางคลินิกของผู้ป่วย หัตถการและการตรวจรักษาอื่นๆ ที่ได้ทำไปแล้ว และความต้องการที่ยังคงมีอยู่ของผู้ป่วย

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ ACC.5.2
Ο 1. มีการส่งสารสนเทศทางคลินิกหรือหรือข้อมูลสรุปทางคลินิกของผู้ป่วยไปพร้อมกับผู้ป่วย
Ο 2. ข้อมูลสรุปทางคลินิกระบุสภาวะของผู้ป่วย
Ο 3. ข้อมูลสรุปทางคลินิกระบุหัตถการและการตรวจรักษาอื่นๆ ที่ได้ทำไปแล้ว
Ο 4. ข้อมูลสรุปทางคลินิกระบุความต้องการการดูแลที่ยังคงมีอยู่ของผู้ป่วย


มาตรฐาน ACC.5.3
มีการบันทึกกระบวนการโอนย้ายผู้ป่วยในเวชระเบียนผู้ป่วย

เจตนาของ ACC.5.3
บันทึกข้อมูลผู้ป่วยแต่ละรายที่โอนย้ายไปยังสถานพยาบาลอื่นประกอบด้วยเอกสารบันทึกการโอนย้าย | เอกสารนี้ประกอบด้วยชื่อองค์กรและชื่อบุคคลที่ตกลงจะรับผู้ป่วย เหตุผลในการโอนย้าย และเงื่อนไขพิเศษสำหรับการโอนย้าย (เช่น เมื่อองค์กรที่รับย้ายมีเตียงว่าง หรือสภาวะของผู้ป่วย) | มีการบันทึกอาการของผู้ป่วยที่เปลี่ยนแปลงในขณะโอนย้าย (เช่น ผู้ป่วยเสียชีวิต หรือจำเป็นต้องช่วยฟื้นคืนชีพ) | มีการจัดทำเอกสารอื่นๆ ตามนโยบายขององค์กร (เช่น ลายมือชื่อของแพทย์หรือพยาบาลที่รับย้ายผู้ป่วย ชื่อบุคลากรที่เฝ้าติดตามอาการผู้ป่วยขณะเคลื่อนย้าย) รวมอยู่ในบันทึกด้วย

องค์ประกอบที่วัดได้ (ME) ของ ACC.5.3
Ο 1. เอกสารบันทึกข้อมูลผู้ป่วยที่โอนย้าย ระบุชื่อสถานพยาบาลและชื่อบุคคลที่ตกลงจะรับผู้ป่วย
Ο 2. เอกสารบันทึกข้อมูลผู้ป่วยที่โอนย้าย ระบุข้อมูลอื่นๆ ตามนโยบายขององค์กรที่ผู้ส่ง
Ο 3. เอกสารบันทึกข้อมูลผู้ป่วยที่โอนย้าย ระบุเหตุผลในการโอนย้าย
Ο 4. เอกสารบันทึกข้อมูลผู้ป่วยที่โอนย้าย ระบุเงื่อนไขพิเศษต่างๆ เกี่ยวกับการโอนย้าย


ACC – การคัดกรองผู้ป่วยสำหรับการรับไว้ในองค์กร | การรับไว้ในองค์กร | การดูแลอย่างต่อเนื่อง | การจำหน่าย การส่งต่อ และการนัดตรวจติดตาม | การโอนย้ายผู้ป่วย | การเคลื่อนย้าย