การวิจัยเกี่ยวกับยาทาระงับเหงื่อ อลูมิเนียมคลอไรด์ (Aluminum Chloride) โดย sweathelp.org
http://www.sweathelp.org/en/treatments-hcp/topical-treatments/aluminum-chloride.html
กลไกการทำงาน
สารละลายเกลืออลูมิเนียมเป็นสารระงับเหงื่อที่ใช้มากที่สุดในปัจจุบัน | สารระงับเหงื่อที่เป็นเครื่องสำอางค์มีส่วนผสมของอลูมิเนียมคลอไรด์บางส่วน ในขณะที่ Aluminum Chloride Hexahydrate เป็นสารระงับเหงื่อที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในปัจจุบัน | การวิจัยหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่าเกลืออลูมิเนียมไปอุดปลายต่อมเหงื่อไว้ | กลไกที่ไปอุดปลายต่อมเหงื่อ คือ โลหะไอออนตกตะกอนกับ Mucopolysaccharides ไปทำลายเซลล์เยื่อบุผิวและท่อ และกลายเป็นปลั๊กที่บล็อคเหงื่อออก | เหงื่อยังผลิตอยู่เมื่อมีความร้อน ซึ่งพบหลักฐานในลักษณะของ miliaria (ผด) เหงื่อจะสร้างขึ้นภายในเนื่องจากมีการอุดไว้โดยเกลือโลหะ | การทำงานของต่อมเหงื่อปกติจะกลับมาพร้อมการสร้างใหม่ของผิวหนังชั้นนอก (Epidermal) อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องทาใหม่หนึ่งหรือสองครั้งต่อสัปดาห์
จากการศึกษาจุลกายวิภาคของต่อม Eccrine ในผู้ป่วยที่ใช้การรักษาด้วยเกลืออลูมิเนียมเป็นระยะเวลานาน ได้แสดงให้เห็นถึงการทำลายของเซลล์ Secretory จากค้นพบผลการรักษาทางคลินิคพบว่าความรุนแรงของภาวะ hyperhidrosis ลดลง ทำให้มีความจำเป็นในการรักษาซ้ำน้อยลง | มีความเข้าใจว่าเกลือโลหะอื่นๆ เช่น Zirconium Vanadium และ Indium ทำงานด้วยกลไกที่เหมือนกัน | เกลือบางอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเกลืออลูมิเนียม แต่มีการใช้เกลืออลูมิเนียมมามากกว่า 80 ปี ราคาไม่แพงและไม่มีพิษ และใช้เป็นส่วนผสมมากที่สุด
http://health.howstuffworks.com/skin-care/underarm-care/problems/question627.htm
http://www.certaindri.com/what-do-medical-professionals-have-to-say/
การรักษาเหงื่อที่รักแร้
การรักษาด้วยอลุมิเนียมคลอไรด์เป็นวิธีที่ได้ผลที่สุดสำหรับภาวะ Hyperhidrosis ที่รักแร้ มีการอธิบายครั้งแรกในปี 1916 | Scholes และเพื่อนร่วมงานทำการรักษาผู้ป่วย 65 คน โดยใช้ อลูมิเนียมคลอไรด์ Hexahydrate ในแอลกอฮอล์ 20% และพบว่าผู้ป่วย 64 คนรายงานว่าสามารถควบคุมเหงื่อออกที่รักแร้ได้เป็นอย่างดี | การทดลองใช้ยา อลูมิเนียมคลอไรด์ Hexahydrate 20% ในผู้ป่วยที่รอการผ่าตัดแสดงให้เห็นว่า ผู้ป่วยจำนวน 24 คน จาก 38 คน ใช้ยาแล้วได้ผลดี ในขณะที่ผู้ป่วยจำนวน 19 คน ตัดสินใจผ่าตัด
ในการศึกษาการรักษาผู้ป่วยภาวะ Hyperhidrosis ที่รักแร้ด้วยอลูมิเนียมคลอไรด์ 20% จำนวน 691 คน ในกลุ่มจำนวน 82% ที่รายงานว่า ได้ผลว่าแห้ง หรือ เหงื่อออกในระดับที่รับได้ และ ที่ต้องติดตามผลต่อไป ผู้ป่วย 87% พอใจผลการรักษา | ในการศึกษานั้น มีการประเมินที่ความเข้มข้นต่างๆ ผู้เขียนสรุปว่ามีผู้ป่วยจำนวน 15% ยอมรับว่าความเข้มข้นที่ 20% ได้ผลดีขึ้นที่ยอมรับได้
การรักษาเหงื่อที่ฝ่ามือ
การรักษาเหงื่อที่ฝ่ามือโดยใช้อลูมิเนียมคลอไรด์ได้ผลที่น้อยกว่า และการรักษาที่ประสบความสำเร็จอยู่ที่ความเข้มข้น 30% | มีการใช้เครื่องวัด Evaporimeter ในผู้ป่วย 12 คน เพื่อวัดการลดลงของเหงื่อที่ผิวหนังหลังจากรักษาด้วยอลูมิเนียมคลอไรด์ 20% ปริมาณเหงื่อลดลง 17% จากการทำการรักษา 1 สัปดาห์ และลดลง 30% จากการรักษา 4 สัปดาห์ โดยเปรียบเทียบกับฝ่ามือที่ไม่ได้ทำการรักษา | มีการระบุผลว่า เหงื่อได้ลดลงหลังจาก 48 ชั่วโมงของการรักษา และเพิ่มขึ้นอีกครั้งหลังจากหยุดการรักษาไป 48 ชั่วโมง
ผลข้างเคียง
มีรายงานจากผู้ป่วยบางคนและในกลุ่มเล็กสำหรับภาวะ Hyperhidrosis ที่หน้า หรือ เมื่อมีเหงื่อออกขณะรับประทานอาหาร (Gustatory Sweating) (Frey’s Syndrome) ซึ่งรายงานผลการรักษาทางคลินิกโดยใช้อลูมิเนียมคลอไรด์ | ผลข้างเคียงที่พบบ่อยที่สุดจากการรักษาด้วยอลูมิเนียมคลอไรด์ คือมีอาการคันและแสบทันทีหลังจากการใช้ยาและระคายเคืองที่ผิวหนังอย่างต่อเนื่อง | ในผู้ป่วยจำนวนหนึ่งจากคนไข้ 691 คน ผู้ป่วยมีอาการคันเล็กน้อยและในระยะสั้นจำนวน 70% ระดับปานกลาง 21% และระดับรุนแรง 9% ในขณะที่การระคายเคืองที่ผิวหนังระดับปานกลาง 36% และรุนแรง 14% | ในระหว่างการรักษาอย่างต่อเนื่องพบว่ามีการคันและระคายเคืองน้อยลง | มีรายงานความเสียหายกับเนื้อผ้า ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงชุดนอนที่มีราคาแพง
รูปแบบที่มีจำหน่าย
ใช้ได้ตามใบสั่งยา Aluminum Hexahydrate ใน Anhydrous Ethanol (Drysol, Person and Covey, Inc., Glendale, California) เป็นยาที่ใช้กันทั่วไป | ยาที่ความเข้มข้น 10% 15% และ สูงสุดถึง 30% ใช้ในการรักษาเหงื่อที่รักแร้ ฝ่ามือ และฝ่าเท้า ตามลำดับ
คำแนะนำ
การปฏิบัติตามคำแนะนำอาจเพิ่มประสิทธิภาพและลดอาการข้างเคียงได้ | เพื่อให้ยามีประสิทธิภาพ ควรปล่อยให้อลูมิเนียมคลอไรด์อยู่ที่ผิวหนัง 6-8 ชั่วโมง | การใช้ยาในตอนกลางคืนมีข้อดีคือมีเหงื่อออกน้อยขณะนอนหลับ การแพร่กระจายของอลูมิเนียมไอออนจะเป็นไปได้ยากถ้าต่อมเหงื่อยังทำงานอยู่ | ถ้าผู้ป่วยโกนขนรักแร้ ควรจะรอ 24-48 ชั่วโมงหลังจากโกนขน หลังจากนี้ค่อยทายาเพื่อลดการระคายเคือง | การระคายเคืองในรูปแบบกรด hydrochloric ที่ทำปฏิกิริยากับน้ำ ดังนั้นไม่ควรใช้หลังจากล้างทำความสะอาดทันที การใช้ที่เป่าผมเป่ารักแร้ให้แห้งจะช่วยลดการระคายเคือง | ควรล้างยาออกในตอนเช้าก่อนที่จะมีเหงื่อออก | การระคายเคืองที่ผิวสามารถรักษาได้โดยใช้ครีม HC เป็นเวลา 2 สัปดาห์หากมีอาการระคายเคือง | หากมีอาการคันหลังจากนั้น ควรปรึกษาแพทย์ด้านผิวหนัง | แนะนำให้ทายาทุกคืนจนเกิดผลดี จากนั้นให้เว้นทำเป็นช่วงเวลาที่การทายาสามารถทำได้ยาวนานขึ้น
การปกคลุมและการใช้ส่วนผสมเพิ่มเติม
วิธีการอื่นๆ ที่ใช้ร่วมกับรักษาด้วยอลูมิเนียมคลอไรด์ รวมถึงการปกคลุมด้วยห่อพลาสติกที่รักแร้และที่เท้าและถุงมือไวนิลที่มือ | แนะนำวิธีการนี้ถ้าวิธีการด้านบนไม่ได้ผล | อย่างไรก็ตาม การศึกษาอีกอันหนึ่งแสดงให้เห็นว่าไม่จำเป็นต้องห่อพลาสติกปกคลุมบนพื้นที่ที่การรักษาด้วยเกลืออลูมิเนียม
การเปลี่ยนอุปกรณ์สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของการรักษาหรือลดการระคายเคือง | แม้ว่ามีคำแนะนำว่าแอลกอลฮอล์เป็นส่วนผสมที่ดีที่สุดในการลดอาการระคายเคือง ผู้ป่วยกลุ่มใหญ่ที่รักษามาเป็นเวลาสิบปีแสดงให้เห็นว่า น้ำที่ผสมกับ methycellulose เป็นการสร้างเจลที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด | ในการทดลองกับผู้ป่วยที่มีภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติที่รักแร้ ใช้ triethanolamine หลังจากรักษาด้วยอลูมิเนียมคลอไรด์จะต่อต้านการระคายเคืองที่เกิดจากกรด hydrochloric | แม้ว่าการลดอาการผื่นคันเป็นที่น่าพอใจ เหงื่อที่ลดลง 75% จากการใช้อลูมิเนียมคลอไรด์เพียงอย่างเดียว ทำให้เหงื่อลดลงแค่ 55% เมื่อรักษารวมกันทั้งสองตัวยา
ในการศึกษาที่มากขึ้นล่าสุด การใช้กรด Salicylic 4% ในเจล Hydroalcoholic ใช้เป็นส่วนผสมใน อลูมิเนียมคลอไรด์ Hexahydrate ในผู้ป่วยจำนวน 238 คน ที่มีภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติที่ รักแร้ เท้า มือ และขาหนีบ | เหตุผลของการใช้ส่วนผสมที่รวมคือทำให้อลูมิเนียมคลอไรด์ดูดซึมได้ดีขึ้นโดยกรด Salicylic ส่งผลให้ระงับเหงื่อได้มากขึ้นจากผลของ Salicylic และมีความเป็นไปได้ที่ผิวหนังมีอาการระคายเคืองน้อยลงเนื่องจากเจล Hydroalcoholic | ใช้อลูมิเนียมคลอไรด์ที่ความเข้มข้นต่างกันในพื้นที่ที่ทำการรักษา – 10-25% ที่รักแร้ และ 30-40% สำหรับที่มือและเท้า | สำหรับผู้ป่วยที่มีเหงื่อมากที่รักแร้ 94% รายงานว่าได้ผลดีถึงดีเยี่ยม | รายงานผลดีถึงดีเยี่ยม 60% และ 84% ของผู้ป่วยฝ่ามือและฝ่าเท้าตามลำดับ | ผู้ป่วยที่ใช้อลูมิเนียมคลอไรด์ในแอลกอฮอล์ไม่ได้ผล หรือลดลงในระดับที่ยอมรับไม่ได้ ได้ผลดีมากขึ้นเมื่อใช้ร่วมกับเจล Salicylic | นักวิจัยไม่สามารถเปรียบเทียบแบบ Double-Blind เพราะการใช้งานทั้งสองอย่างมีความแตกต่างกัน | นักวิจัยแนะนำการศึกษาต่อไปโดยใช้การวัดที่พิจารณาถึงวัตถุประสงค์ให้มากขึ้น